ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริม
ทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางชฎาพร เจ๊กรวย
สถานศึกษา โรงเรียนวัดสโมสร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการ
อ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS
Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสโมสร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ที่เรียนรายวิชา ท13101 ภาษาไทย จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 35 คน มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียน วัดสโมสร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คน โดยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ttest (Dependent Samples) และ การทดสอบ Wilcoxon Singned-rank test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริม
ทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบมีกรอบแนวคิดทฤษฎี ดังนี้ 1) แนวคิดและทฤษฎีการสอนของของเดวีส์ และ2) หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (StudentCentered Instruction) มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด ADDIE Model ประยุกต์ตามการออกแบบการเรียนการสอนของเดวีส์ และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนการประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์ (Experiential Learning) และการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (SelfDirected Learning) และ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PDPS Model) ประกอบด้วย ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเร้าความสนใจ (Preparation : P) ขั้นที่ 2 ขั้นสาธิต (Demonstration : D) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติทักษะ(Practicing: P) ขั้นที่ 4 สรุปและประเมินผล (Summarization and assesment: S) เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกด ไม่ตรงตามมาตรา และมีวิจัยการประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัย และพัฒนา (Research and Development) โดยที่ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2) ผลการพัฒนาและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อ
ส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามความคิดเห็นและการประเมินรูปแบบของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้ส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อ
ส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลโดยรวมหลังการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา มีทักษะเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อ
ส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย
4.1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเท่ากับ85.51/83.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ มีค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ .01 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4.2 ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01
4.3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการ
จัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ PDPS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมและรายข้อทุกข้อในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือข้อ 13 กิจกรรมการเรียนรู้นี้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ( = 4.47) ข้อ14 กิจกรรมการเรียนรู้สามารถศึกษาได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน( = 4.45) และข้อ16 การจัดการเรียนรู้นี้นักเรียนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ( = 4.44) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 5 การเรียนรู้นี้สามารถทำให้นักเรียนได้นำความรู้ สู่การปฏิบัติจริง ( = 3.92)