การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนา วงดนตรีลูกทุ่ง เพื่อเสริมสร้างสุนทรียภาพและอนุรักษ์ความเป็นไทยของนักเรียน โรงเรียนบัวใหญ่
ชื่อผู้ประเมิน : นายพลชัย โยศรีคุณ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ : 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนา วงดนตรีลูกทุ่ง เพื่อเสริมสร้างสุนทรียภาพและอนุรักษ์ความเป็นไทยของนักเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) ของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ และ4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ แหล่งข้อมูลในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ศึกษากับประชากรทั้งหมด 2) ครูที่สอนในปีการศึกษา 2564 จำนวน 103 คน ศึกษากับประชากรทั้งหมด 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2,109 คน ศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 342 และ 4) ผู้ปกครอง จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมิน ได้แก่ ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมิน ได้แก่ ครู ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมิน ได้แก่ ครู และแบบประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ประกอบด้วย ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองและครูที่มีต่อโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ
1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.54 , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.16) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.51 , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.18)
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.49, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.16)
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.53 ,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.16)
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.51, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.18) ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.61 , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.20) และครูมีความพึงพอใจต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.51 , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.18)