ชื่อผลงาน การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring)
สำหรับครูในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะพานมิตรภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
ผู้ศึกษา นายชยา ภาคภูมิ
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2564 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะพานมิตรภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ก่อนและหลังใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะพานมิตรภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ที่มีต่อชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) โดยมีกลุ่มเป้าหมายของการศึกษา คือ ครูในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะพานมิตรภาพ จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) จำนวน 5 เล่ม คู่มือการใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) จำนวน 1 เล่ม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังศึกษาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) จำนวน 20 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจของครูในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะพานมิตรภาพที่มีต่อชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ซึ่งเครื่องมือแต่ละฉบับผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าสถิติ t-test (t-test for dependent Samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) มีประสิทธิภาพของกระบวนการ เท่ากับ 81.67 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เท่ากับ 82.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ครูในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะพานมิตรภาพ มีความรู้ความเข้าใจหลังการศึกษาสูงกว่าก่อนการศึกษาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและ การเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ครูในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะพานมิตรภาพ มีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด