ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนบ้านห้วยตาหมิง
ผู้ประเมิน นายสิทธิพล ลีแสน
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ใน โรงเรียนบ้านห้วยตาหมิง มีวัตถุประสงค์ เพื่อการประเมินโครงการ ด้าน ตามรูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย การประเมินด้านบริบท การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินด้านกระบวนการ และการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูและบุคลากร ทางการศึกษา จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 91 คน และนักเรียน จำนวน 91 คน รวมทั้งหมดจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการได้แก่ แบบสอบถามที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่ง เรียนรู้ในโรงเรียนบ้านห้วยตาหมิง โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.57, α = 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 6 รายการ โดยเรียงจากมาก ไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ กิจกรรมและวิธีดำเนินกิจกรรมสามารถปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง (µ = 4.85, α = 0.36) รองลงมา คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน (µ = 4.80, α = 0.41) และโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนและชุมชน (µ = 4.75, α = 0.55) ส่วนรายการที่มี ระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมและแหล่ง เรียนรู้ (µ = 4.25, α = 0.79) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่ง เรียนรู้ในโรงเรียนบ้านห้วยตาหมิง โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.67, α = 0.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไป หาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ครูและบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ พร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการ และอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (µ = 4.82, α = 0.40) รองลงมา คือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพื่อการดำเนินโครงการ และงบประมาณ ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นในการดำเนินโครงการ (µ = 4.73, α = 0.46) และมีการติดตาม ประเมิน และรายงานผลอย่างเป็นระบบ การสนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น และ การสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด (µ = 4.64, α = 0.50) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ระบบการบริหารภายในโรงเรียนเอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรม (µ = 4.55, α = 0.52) มีระดับ ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่ง เรียนรู้ในโรงเรียนบ้านห้วยตาหมิง โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.70, α = 0.47) เมื่อ พิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การเปิดโอกาสให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ในการวางแผนการดำเนิน โครงการ (µ = 4.82, α = 0.38) รองลงมา คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมตามโครงการมี ความเหมาะสม และจัดทำเครื่องมือติดตามและประเมินผลได้เหมาะสมกับกิจกรรม (µ = 4.78, α = 0.41) และมีการนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนา (µ = 4.76, α = 0.48) ส่วนรายการที่มีระดับ การปฏิบัติต่ำสุด คือ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเข้าใจโครงการ อย่างชัดเจน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (µ = 4.60, α = 0.51) มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจที่มีต่อการ ดำเนินงานโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคู้คดหลังเสร็จ สิ้นโครงการ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงาน โครงการพัฒนาอาคารสถานที่สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านห้วยตาหมิงหลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.69, α = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็น รายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรงเรียนมี อาคารเรียน อาคารประกอบห้ องเรียนและห้องปฏิ บั ติ การที่ มี ความปลอดภัย (µ = 4.80, α = 0.40) รองลงมา คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน รักสามัคคี ยิ้มแย้มแจ่มใส (µ = 4.78, α = 0.41) และโรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสม และ สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและท้องถิ่น (µ = 4.75, α = 0.43) ส่วนรายการที่มีระดับความ คิดเห็นต่ำสุด คือ โรงเรียนมีการจัดมุมเสริมความรู้ภายในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสำนักงานโรงอาหาร มุมหนังสือ และโรงเรียน มีสนามกีฬา สนามเด็กเล่น เพียงพอและปลอดภัยต่อนักเรียน (µ = 4.58, α = 0.51) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนา อาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านห้วยตาหมิงหลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวมมี ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.77, α = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีระบบ การบริหารจัดการขยะที่ดี (µ = 4.95, α = 0.20) รองลงมา คือ สนามกีฬา สนามเด็กเล่น เพียงพอและ ปลอดภัยต่อนักเรียน (µ = 4.93, α = 0.26) และการจัดมุมเสริมความรู้ภายในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสำนักงาน โรงอาหาร มุมหนังสือ (µ = 4.86, α = 0.34) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ การส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง (µ = 4.62, α = 0.54) มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด