ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยวิธีการสอนแบบ GPAS
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นาฏยา คงทอง
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจับครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยวิธีการสอนแบบ GPAS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยวิธีการสอนแบบ GPAS
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในประเด็นความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒ (บ้านดอนเกลี้ยง )สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 1 ห้อง จำนวน 35 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าที แบบไม่เป็นอิสระ (t test for dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยวิธีการสอนแบบ GPAS เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรม
5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์ ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้ ขั้นที่ 4
ขั้นสื่อสารและนำเสนอ ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่า มีความสอดคล้องของรูปแบบโดยภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยวิธีการสอนแบบ GPAS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฎผลดังนี้
2.1 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (x̄= 35.03, S.D. = 2.92) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄= 28.69, S.D. = 3.16) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยวิธีการสอนแบบ GPAS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มากกว่าร้อยละ 80 ทุกระยะและมีการพัฒนาขึ้น
ในแต่ละระยะ
2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยวิธีการสอนแบบ GPAS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.53, S.D. = 0.57)