เรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ร่วมกับปัญหาเป็นฐาน เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นายสพายซอง ศรีเคน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) เทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ร่วมกับปัญหาเป็นฐาน เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ร่วมกับปัญหาเป็นฐาน เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ร่วมกับปัญหาเป็นฐาน เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) ก่อนนำออกเผยแพร่เป็นผลงานทางวิชาการต่อไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรของโรงเรียน จำนวน 7 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 คน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประเด็นการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง .97 แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น .96 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ มีค่าความเชื่อมั่น .90 แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) แบบจัดระดับคุณภาพ (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่น .93 แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น .96 และแบบสอบถามเพื่อการประเมินรูปแบบการจัด การเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าร้อยละ (percentage) การประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียน และการทดสอบด้วย ค่าที (t test Dependent Samples และ t test The One Shot Case Study)
สรุปผลการวิจัย
1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า โดยรวมใช้สาระรายวิชาชีววิทยา 4 (รหัส ว 32208) นำมาใช้ในการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง วิธีการจัดการเรียนรู้คือ การจัดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ร่วมกับปัญหาเป็นฐาน และทักษะที่ใช้พัฒนานักเรียนคือ ทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ร่วมกับปัญหาเป็นฐาน เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า MRLAE Model มีองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ ด้านหลักการ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านผลที่เกิดกับนักเรียน โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ ขั้นนำเสนอบทเรียน (Motivating : M) ขั้นศึกษาค้นคว้า (Researching : R) ขั้นจัดการเรียนรู้ (Learning : L) ขั้นนำไปใช้ (Application : A) และขั้นประเมินผล (Evaluating : E) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .97 และครูผู้สอนเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้และทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือ รูปแบบการจัดการ รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาสาระของการจัดการเรียนรู้กับด้านการจัดการเรียนรู้ ต่อมาคือ ด้านหลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้กับผลที่เกิดกับนักเรียน ด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ โดยทุกข้อของรูปแบบและองค์ประกอบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.57 5.00
3. การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ร่วมกับปัญหาเป็นฐาน เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) มีดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้ พบว่า โดยรวมนักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียน อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (3.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทุกด้านนักเรียนมีทักษะ การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับดีมาก สูงสุดคือ ด้านวิเคราะห์ปัญหา รองลงมาคือ ด้านกำหนดปัญหา ต่อมาคือ ด้านลงมือแก้ปัญหาและด้านสรุปผล ตามลำดับ และทุกข้อนักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.69 3.92
4. การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ร่วมกับปัญหาเป็นฐาน เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) ก่อนนำออกเผยแพร่เป็นผลงานทางวิชาการ มีดังนี้
4.1 ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.79 โดยทุกด้านนักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด สูงสุดคือ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมการเรียนกับด้านสื่อ เทคโนโลยี/แหล่งเรียนรู้ ต่อมาคือ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ ตามลำดับ และ ทุกข้อนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.69 4.92
4.2 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า โดยรวมรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด สูงสุดคือ ด้านการจัดการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านหลักการของรูปแบบจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้กับด้านผลที่เกิดกับนักเรียน ต่อมาคือ ด้านเนื้อหาของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ โดยทุกข้อของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.58 5.00 สามารถนำออกเผยแพร่เป็นผลงานทางวิชาการได้ต่อไป