ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้วิจัย : นางเบญจพร สมุทรเศรษฐ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4) ประเมินผลรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การวิจัยมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ และแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ภาคีเครือข่าย จำนวน 287 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย สนทนุกลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กลุ่มเป้าหมายเป็น ภาคีเครือข่าย จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ภาคีเครือข่าย จำนวน 287 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของ
รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับน้อย เรียงตามลำดับคือ ด้านการปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการวางแผน ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย คือให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมพัฒนา การตัดสินใจดำเนินการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา และชุมชน เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่บุคลากร และผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
2. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า รูปแบบ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ 1) บุคคล 2) หน่วยงานภาครัฐ 3) ผู้นำชุมชน 4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5) หน่วยงานเอกชน 6) สถานศึกษาอื่น องค์ประกอบที่ 2 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการตัดสินใจ 3) ด้านการปฏิบัติการ 4) ด้านการรับผลประโยชน์ 5) ด้านการติดตามประเมินผล องค์ประกอบที่ 3 การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมและพัฒนา 4) การป้องกันและช่วยเหลือ 5) การส่งต่อ องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การตรวจสอบ 4) การปรับปรุงแกไข และองค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย 1)
แรงจูงใจ 2) บรรยาการศองค์การ 3) ภาวะผู้นำ 4) การติดต่อสื่อสาร 5) การทำงานเป็นทีม
3. การทดลองใช้การทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ภาคีเครือข่ายมีความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด