บทสรุปผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนบ้านโพหวาย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต1
ผู้รายงาน นายภาณุพงศ์ เพชรกูล
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพหวาย
หน่วยงานที่สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
ปีการศึกษา 2564
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนบ้านโพหวาย สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า
กระบวนการและผลผลิตของการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ผู้ประเมินได้ใช้วิธีการประเมินตาม
แนวคิดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) นำมาใช้
ในการประเมินกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา
ผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน 678 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน
ครั้งนี้เป็นแบบประเมินผลคุณลักษณะของผู้เรียน และแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient)
ของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.833 ผู้ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน
ได้แก่ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า (1) การประเมินบริบทของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียน
บ้านโพหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยภาพรวมมีความ
เหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า วัตถุประสงค์
และเป้าหมายของโครงการ ส่งผลให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด
รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธส่งเสริมให้นักเรียนนำหลักธรรมและหลักความ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาสังคมได้และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความ
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของชุมชน ส่วนนักเรียน
สามารถนำไปต่อยอดกิจกรรมที่จัดขึ้นในโครงการไปปรับใช้ในชีวิตประจำได้มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่น ๆ
(2) การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนบ้านโพหวาย สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเพียงพอ
อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่าโรงเรียนมีปฏิทินการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา บุคลากรในโรงเรียนมีจำนวนเพียงพอ สามารถ
แบ่งหน้าที่รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม บุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถใน
การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ส่วนโรงเรียนกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน สามารถ
นำไป ปฏิบัติได้ทันทีมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่น ๆ (3) การประเมินกระบวนการของโครงการโรงเรียนวิถี
พุทธของโรงเรียนบ้านโพหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
โดยภาพรวมมีการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า โรงเรียนมีการ
ดำเนินการตามปฏิทิน/แผนการปฏิบัติการของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา โรงเรียนมีการจัด
กิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม ความเป็นคนดีที่สอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ
โรงเรียนได้กำหนดบทบาทหน้าที่และผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธอย่าง
ชัดเจน ส่วนมีการนำผลการประเมิน มาร่วมกำหนดแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาโครงการให้ดีขึ้น
มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่น ๆ (4) การประเมินด้านผลผลิตของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนบ้าน
โพหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 พบว่า (4.1) การ
ประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโพหวาย พบว่า นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ของนักเรียน
โดยภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า ยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ
ร้องเพลงชาติได้ และบอกความหมายของเพลงชาติมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ไหว้พระสวดมนต์
ศรัทธา ยึดมั่น และปฏิบัติตนตามหลักของศาสนา ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย ส่วนแสวงหาความรู้
จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม บันทึก
ความรู้ วิเคราะห์ สรุปเป็นองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มีค่าเฉลี่ยต่ำ
กว่าข้ออื่น ๆ (4.2) การประเมินความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องโครงการโรงเรียน
วิถีพุทธของโรงเรียนบ้านโพหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า ประโยชน์ที่ได้รับ
จากโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือกิจกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการมีความ
เหมาะสมกับนักเรียนและมีความหลากหลาย และนักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี
เมื่อผ่านการเข้าร่วมโครงการ ส่วนนักเรียนทุกคนใช้หลักธรรมของศาสนาตามหลักไตรสิกขามา
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจนเป็นกิจนิสัย มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่น ๆ
คำสำคัญ : รายงานการประเมินโครงการ, วิถีพุทธ