ชื่อผลงาน โครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ
โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นายชัยวุฒิ ยอดสง่า
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และ ด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 327 คน ครู จำนวน 86 คน ผู้ปกครอง จำนวน 327 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .888 - .926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For window V.17 Version.17.0
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม
สรุปผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( = 4.73 , S.D. = .12) และ ( = 4.80 , S.D. = .09) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า
สรุปผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูพบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.72 , S.D. = .13) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
สรุปผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่าโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.62 , S.D. = .14) , ( = 4.68 , S.D. = .08) และ ( = 4.65 , S.D. = .13) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมินใน 4 ประเด็น ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.32 , S.D. = .43) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.28 , S.D. = .39) อยู่ในระดับมากส่วนกลุ่มนักเรียน และผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.20 , S.D. = .38) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาว รัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมพบว่าทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเหณฑ์ที่กำหนด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.79 , S.D. = .13) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ครู ( = 4.73 , S.D. = .16) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.68 , S.D. = .18) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ 1) ซื่อสัตย์ 2) จิตอาสา 3) ความพอเพียง 4) ความรับผิดชอบ และ 5) มีวินัย ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง พบว่า
4.3.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.15 , S.D. = .50) รองลงมา คือ ผู้ปกครอง ( = 4.13 , S.D. = .52) อยู่ในระดับดีเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.79 , S.D. = .15) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ครู ( = 4.77 , S.D. = .15) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.71 , S.D. = .19) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกันได้คะแนนเฉลี่ยรวม 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นจุดเด่นของการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) ด้านการสื่อสาร สร้างความเข้าใจ 2) ด้านการสร้างการมีส่วนร่วม 3) ด้านการสอบถามติดตาม (นิเทศ ติดตาม) 4) ด้านการเสริมแรงเชิงบวก พัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีได้อย่างดียิ่ง ดังนั้นโรงเรียนต่าง ๆ ควรนำกรอบ 4 ลักษณะข้างต้นไปประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางในการเสริมสร้างพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนตามบริบทของโรงเรียน
1.2 ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองและครือข่ายชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3 ควรขยายผลการดำเนินโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนอย่างยั่งยืน
1.4 ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนอีกทั้งมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ เพื่อพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา