ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามแผนงานส่งเสริมและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนราชวินิตบางเขน
ชื่อ-สกุล นางศศิพิมพ์ วรรณกูล
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
สถานศึกษา โรงเรียนราชวินิตบางเขน
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามแผนงานส่งเสริมและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนราชวินิตบางเขน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริบท(C: Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า(I: Input Evaluation) 3) ด้านกระบวนการ(P: Process Evaluation) 4) ด้านผลผลิต(P: Product Evaluation) 5) ด้านผลกระทบ (I: Impact Evaluation) 6) ด้านประสิทธิผล(E: Effectiveness Evaluation) 7) ด้านความยั่งยืน (S: Sustainability Evaluation) และ 8) ด้านการส่งต่อ(T: Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครู จำนวน 67คน นักเรียน จำนวน 348 คน ผู้ปกครอง จำนวน 348 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบประเมินสำหรับผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 2 ได้แก่ แบบประเมินสำหรับครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 ได้แก่ แบบประเมินสำหรับนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ด้านบริบท (C: Context Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โรงเรียน และโครงการกับแผนปฏิบัติการประจำปี พบว่า ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (I: Input Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับ ความพร้อม และศักยภาพของบุคลากร ความพร้อมของงบประมาณ ความพร้อมของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และICT และ แหล่งเรียนรู้ และอาคารสถานที่ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ความพร้อม และศักยภาพของบุคลากร ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับ การจัดกิจกรรมในโครงการ การกำกับ ติดตาม ประเมินผล ปัญหา อุปสรรค การนำผลประเมินมาปรับปรุง พบว่า ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านปัญหา อุปสรรค การนำผลประเมินมาปรับปรุง ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (P: Product Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมตามโครงการ และคุณลักษณะของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมตามโครงการ พบว่าในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมตามโครงการในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก
5. ด้านผลกระทบ (I: Impact Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับ ผลกระทบที่เกิดกับนักเรียน ผลกระทบต่อโรงเรียน และผลกระทบต่อชุมชน พบว่า ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ผลกระทบตอชุมชนมีค่าเฉลี่ยระดับมาก
6. ด้านประสิทธิผล (E: Effectiveness Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับ การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด
7. ด้านความยั่งยืน(S: Sustainability Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับ ความต่อเนื่องของการดำเนินงาน ความต้องการของโรงเรียน และชุมชน และโรงเรียนกำหนดยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าด้านความต่อเนื่องของการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยระดับ
มากที่สุด
8. ด้านการส่งต่อ (T: Transportability Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับ จุดเด่นของโครงการเป็นแบบอย่างได้และการขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่น พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าจุดเด่นของโครงการเป็นแบบอย่างได้มีค่าเฉลี่ยระดับมาก