ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางอภิญญา ร่วมสันเทียะ
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบัวขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) มีลักษณะเป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 20 ข้อ 5) แบบประเมินรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อว่า POCMEAICE Model มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ (Principle: P) 2) วัตถุประสงค์ (Objective: O) 3) เนื้อหา (Content : C) 4) กระบวนการ (Methodology : M) ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความรู้ (Elicitation : E) ขั้นที่ 2 ขั้นลงมือกระทำ (Action: A) ขั้นที่ 3 ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Implement: I) และขั้นที่ 4 ขั้นสรุป (Conclusion :C) 5) การวัดและประเมินผล (Evaluation : E)
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
2.1 รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.16/82.21
2.2 รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7582
2.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.4 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.5 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) มีความเหมาะสมมากที่สุด