ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการการจัดหลักสูตร Intensive English Program โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
ผู้วิจัย นายพิบูลย์ สิทธิมงคล
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการการจัดหลักสูตร Intensive English Program โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ 1. เพื่อประเมินความเหมาะสมของสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) ของโครงการพัฒนา ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารของนักเรียนในโครงการการจัดหลักสูตร Intensive English Program โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี 2.เพื่อประเมินความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) ในการดําเนินโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ สื่อสารของนักเรียนในโครงการการจัดหลักสูตร Intensive English Program โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี 3. เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการ (Process Evaluation : P) ดําเนินงานของโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารของนักเรียนในโครงการการจัดหลักสูตร Intensive English Program โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี 4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) ของโครงการการจัดหลักหลักสูตร Intensive English Program โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินครั้งนี้แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้บริหารและครูในโครงการการหลักหลักสูตร Intensive English Program โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี ปีการศึกษา 2563 2. นักเรียนระดับปฐมวัย ประถมศึกษาปีที่ 6 ในโครงการการจัดหลักหลักสูตร Intensive English Program โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี ปีการศึกษา 2563 3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจําแนกเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี ผู้ปกครองนักเรียนในโครงการการจัดหลักหลักสูตร Intensive English Program โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน 1. แบบประเมินโครงการเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่าจำนวน 7 ฉบับมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .96 - .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารของ นักเรียนในโครงการการจัดหลักหลักสูตร Intensive English Program โรงเรียนเทศบาล 2มุขมนตรี ได้ดังนี
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการซึ่งมี 1 ตัวชี้วัด คือ ความเหมาะสมของสภาวะแวดล้อม พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ความเหมาะสมกับความต้องการของนักเรียนมีความเหมาะสมเป็นอันดับแรก ส่วนรายการที่มีความเหมาะสมเป็นอันดับสุดท้าย คือ ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมและเพียงพอ
2. ผลการประเมินปัจจัยนําเข้าของโครงการซึ่งมี 1 ตัวชี้วัด คือ ความพร้อมของปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า อยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ความพร้อมของครูผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมมีความพร้อมเป็นอันดับแรก ส่วนรายการที่มีความพร้อมเป็นอันดับสุดท้าย คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้การสนับสนุน
3. การประเมินกระบวนการของโครงการพบว่าอยู่ในระดับมากซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 ตัวชี้วัด คือ
3.1 ขั้นเตรียมการดําเนินการตามโครงการมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า วัตถุประสงค์ของกิจกรรมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมมากเป็นอันดับแรก และรายการที่มีความเหมาะสมเป็นอันดับสุดท้ายคือมีแหล่งเรียนรู้เพียงพอ
3.2 ขั้นการดําเนินกิจกรรม Multi Skill Record มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า แรงจูงใจให้ร่วมกิจกรรมมีความเหมาะสมมากที่สุด เป็นอันดับแรก และรายการที่มีความเหมาะสมเป็นอันดับสุดท้าย คือ มีแหล่งเรียนรู้เพียงพอ
3.3 ขั้นการดําเนินกิจกรรม General English Proficiency Test มีผลการประเมิน
โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า กิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการ ใช้ภาษาอังกฤษมีความเหมาะสมมากเป็นอันดับแรก และรายการที่มีความเหมาะสมเป็นอันดับสุดท้าย คือ เวลาในการทําแบบทดสอบ
3.4 ขั้นดําเนินกิจกรรม Cultural & English Camp มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า เรียนรู้ในบริบทของความเป็นไทยผสมผสาน ความเป็นสากลมีความเหมาะสมมากเป็นอันดับแรก และรายการที่มีความเหมาะสมเป็นอันดับสุดท้าย คือ มีการดําเนินงานตามโครงการทุกกิจกรรม
3.5 ขั้นดําเนินกิจกรรม Academic Enrichment Course มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า มีทักษะการจัดการและแก้ปัญหามีความเหมาะสมมากที่สุดเป็นอันดับแรก และรายการที่มีความเหมาะสมเป็นอันดับสุดท้าย คือ มีการ ดําเนินงานตามโครงการทุกกิจกรรม
3.6 ขั้นดําเนินงานจัดกิจกรรม Open House มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนภาษา และวัฒนธรรมมีความเหมาะสมเป็นอันดับแรก และรายการที่มีความเหมาะสมเป็นอันดับสุดท้าย คือ มีกิจกรรมทัศนศึกษา
3.7 ขั้นประเมินผล และรายงานผลโครงการมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ใน ระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า มีการนําผล การประเมินไปปรับและพัฒนาให้ก้าวหน้าความเหมาะสมมากเป็นอันดับแรก และรายการที่มีความเหมาะสมเป็นอันดับสุดท้าย คือ มีเครื่องมือการประเมินแต่ละกิจกรรม
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ พบว่า อยู่ีในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 6 ตัวชี้วัด คือ
4.1 ผลการปฏิบัติงานของครูในโครงการมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนการดําเนินงานของโครงการ มีผลการปฏิบัติมากเป็นอันดับแรก และรายการที่มีผลการปฏิบัติเป็นอันดับสุดท้าย คือ ครูมีบทบาทในการติดตามกํากับ ดูแลกระบวนการทํางานของนักเรียน
4.2 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ได้รับความสะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นความพึงพอใจมากที่สุดอันดับแรก และรายการที่เป็นความพึงพอใจอันดับสุดท้าย คือ ขั้นตอนกิจกรรมในโครงการเป็นไปตามกําหนด
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการมีผลการประเมิน โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า มีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพิ่มขึ้นเป็นความพึงพอใจมากที่สุดเป็นอันดับแรก และรายการที่เป็นความพึงพอใจเป็นอันดับสุดท้าย คือ ผู้ปกครองให้ความสําคัญ และให้การสนับสนุนมากขึ้น
4.4 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อโครงการ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า มีการรายงานความก้าวหน้าของโครงการอยาง ต่อเนื่องเป็นความพึงพอใจมากที่สุดเป็นอันดับแรก และรายการที่มความพึงพอใจเป็นอันดับสุดท้าย คือ โครงการมีการวางแผนตามกิจกรรมที่วางไว้
4.5 ผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนมีผลการสอบโดยรวมผ่านเกณฑ์ กําหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสนทนา (Conversation) มีผลการสอบคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด และด้านที่มีผลการสอบคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านไวยากรณ์ (Grammar) และเมื่อพิจารณาในแต่ละระดับ พบว่านักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีผลการสอบคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด และระดับที่มีผลการสอบคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ระดับชั้นปฐมวัย
4.6 ผลการสัมภาษณ์การใชืภาษาอังกฤษสื่อสารมีผลการสัมภาษณ์โดยรวม ผ๋านเกณฑ์กําหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการออกเสียง (Pronunciation) มีผลการสัมภาษณ์ มากที่สุดและด้านที่มีผลการสัมภาษณ์ต่ำที่สุด คือ ด้านความคล่องแคล่ว (Fluency) ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ และเมื่อพิจารณาในแต่ละระดับ พบว่า นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีผลการสัมภาษณ์ มากที่สุด ผลการสัมภาษณ์มากที่สุด คือนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 และระดับที่มีผลการสัมภาษณ์น้อยที่สุด คือ ระดับปฐมวัย
ข้อเสนอแนะ
1. ด้านบริบทของโครงการควรมีการทบทวนช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม แม้ว่าจะมี การวางแผนการดําเนินกิจกรรมไว้ล่วงหน้าแต่กระทบต่อกิจกรรมของโรงเรียน เป็นเพราะว่าโรงเรียน จัดกิจกรรมให้นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี อย่างหลากหลายโดยเฉพาะใน ภาคเรียนที่ 1 ของแต่ละปีการศึกษา
2. ด้านปัจจัยนําเข้าของโครงการ ความพร้อมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สนับสนุนโครงการ น่าจะสืบเนื่องจากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของผู้ปกครองและสถานภาพของผู้ปกครองซึ่งส่วน ใหญ่มีกําลังสนับสนุนน้อย โดยเฉพาะกิจกรรม Academic Enrichment Course ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงด้วย ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้เก็บออมงบประมาณสําหรับการนี้ล่วงหน้าได้หลายเดือนหรือหากองทุนสนับสนุนกิจกรรมนี้
3. ด้านกระบวนการของโครงการซึ่งทุกกิจกรรมควรจัดหาแหล่งเรียนรู้ให้หลากหลายให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนในการจัดการและควรทําวิจัยต่อยอด
โดยการนําข้อมูลจากการประเมิน ครั้งนี้ไปพัฒนาปรับปรุงให้โครงการประสบความสําเร็จยิ่งขึ้น
4.ด้านผลผลิตของโครงการควรนําข้อบกพร่องในการสอบวัดความรู้ และการสัมภาษณ์ในการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร มาปรับปรุงแก้ไข และควรมีเวทีการแข่งขันความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น จำนวน 7 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร จำนวน 2 คน ครูในโครงการการจัดหลักสูตร Intensive English Program จำนวน 19 คน นักเรียนจำนวน 375 คน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษา 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนในโครงการการจัดหลักสูตร Intensive English Program จำนวน 375 คน รวมทั้งสิ้น 384 คน นอกนั้นยังเก็บข้อมูลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนในโครงการการจัดหลักสูตร Intensive English Program โดยการสัมภาษณ์การใช้ภาษาอังกฤษ โดยครูเจ้าของภาษา (Native Speaker) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และเสนอค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ผล การสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ และผลการสอบการสัมภาษณ์การใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร
โดยสรุปผู้ประเมินเห็นว่า กำลังสนับสนุนของผู้ปกครอง ครู และกรรมการบริหารโรงเรียนจะส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้นักเรียนในโครงการการจัดหลักสูตร Intensive English Program สู่ความเป็นเลิศได้อย่างแท้จริง