ผู้รายงาน นางสาวสุชญา อุตรมาตย์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model วัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Products Evaluation) 5) เพื่อประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) 6) เพื่อประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) 7) เพื่อประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และ 8) เพื่อประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation)
กลุ่มกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน (ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู) ครูและบุคลากร จำนวน 23 คน ผู้ปกครอง จำนวน 138 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 138 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่มของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 8 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการประเมิน
1. ด้านบริบท (Context) ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X= 3.60, S.D. =0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (X = 3.82, S.D.=0.64)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X= 3.81, S.D.= 0.41) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ครูมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการดำเนินโครงการ (X= 4.08, S.D.= 0.70)
3. ด้านกระบวนการ (Process) ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X= 3.82, S.D.=0.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การประสานงานให้ความร่วมมือของครูและบุคลากรในการดำเนินโครงการ (X= 3.96, S.D.= 0.80)
4. ด้านผลผลิต (Product) ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X= 3.82,S.D.=0.21) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของแต่ละกิจกรรม ได้แก่ 1) นักเรียนมีคุณลักษณะทางการเคลื่อนไหวที่ดี 2) ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอน และนักกีฬา ได้รับความร่วมมือ ครูและบุคลากรมีความรู้ และความพยายามในการศึกษาเรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ ในการสร้างทีมอยู่เสมอ 3) ซ้อมช่วงเลิกเรียนเริ่มเวลา 15.00 นาที เน้นในเรื่องฝึกทักษะเทคนิค และความสัมพันธ์ของทีม 4) นักเรียนมีสมรรถภาพที่ดีและมีความพร้อมในการที่จะทำการแข่งขันกับทีมต่าง ๆ 5) ครูและบุคลากรมีการปรับสภาพและแก้ไขข้อบกพร่องของทีม เสริมความแข็งแกร่งทางด้านร่างกายและจิตใจโดยการสร้างสถานการณ์คล้ายจริงเพื่อให้นักกีฬาเกิดความชำนาญกับเกมการแข่งขัน และ 6) มีสนามฝึกซ้อม สถานที่ อุปกรณ์การฝึกซ้อม อาคารกีฬาอเนกประสงค์ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
5. ด้านผลกระทบ (Impact) ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 3.84,S.D.=0.33) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ครูและบุคลากรมีความตื่นตัวในการปฏิบัติและเชื่อมั่นในผลงานที่ได้ร่วมพัฒนาความเป็นเลิศด้านกีฬา (X=3.93, S.D.=0.59)
6. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 3.81,S.D.=0.41) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนมีผลงานที่ได้รับรางวัลการแข่งขันชนะเลิศกีฬาระดับภาค (X=3.92, S.D.=0.74)
7. ด้านความยั่งยืน (Sustainability) ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 3.84,S.D.=0.37) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผลสำเร็จเป็นสิ่งที่ทุกคนภาคภูมิใจและมุ่งที่จะทำให้มีความยั่งยืน (X=3.93, S.D.=0.69)
8. ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X= 3.84,S.D.=0.35) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีจุดเด่นและเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินโครงการ (X=3.94, S.D.=0.67)