๑. ชื่อผลงาน : การจัดกิจกรรมเกมศึกษา โดยใช้หลัก CARES U เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓/๑ โรงเรียนบ้านคลองดิน
๒. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน : นางหทัยทิพย์ ประทุมวรรณ
ตําแหน่ง ครู โรงเรียน บ้านคลองดิน .
๓. ความสำคัญของผลงานนวัตกรรม
จากการประเมินพัฒนาการนักเรียนตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ พัฒนาการด้าน สติปัญญา ในมาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐.๑ มี ความสามารถในการคิดรวบยอด ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ พบว่า เด็กอนุบาลชั้นปีที่ ๓/๑ โรงเรียนบ้านคลองดิน มีผลระดับคุณภาพ อยู่ในระดับปรับปรุงและพอใช้ หลังการจัดประสบการณ์ไปแล้ว ๓ หน่วยการเรียนรู้ ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายวางไว้ของโรงเรียน และส่งผลต่อเด็กในเรื่องความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในอนาคตต่อไป
ครูผู้สอนจึงเลือกจัดกิจกรรมเกมการศึกษา โดยใช้หลัก CARES U เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓/๑ โรงเรียนบ้านคลองดิน เพื่อให้เด็กมีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐาน การเรียนรู้ในอนาคต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาในการพัฒนาเด็กปฐมวัย และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อครู บุคลากรทางการศึกษา หรือผู้ที่สนใจในการนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาการศึกษาต่อไป
๔. จุดประสงค์ และเป้าหมายของการดำเนินงาน
จุดประสงค์ของการดำเนินงาน
๔.๑ เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาในการส่งเสริมความคิดรวบยอดของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ ๓/๑ จำนวน ๒๑ คน ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียนบ้านคลองดิน
๔.๒ เพื่อพัฒนาด้านความสามารถในการคิดรวบยอด โดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ ๓/๑ จำนวน ๒๑ คน ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียนบ้านคลองดิน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านสติปัญญาทางด้านการคิดรวบยอดดีขึ้น ผ่านการส่งเสริมการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา และมีความพร้อมในการเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ทางด้านพัฒนาการทางสติปัญญาทักษะการคิดรวบยอด
2. เด็กมีความสนุกสนาน และมีความสนใจในการเรียนรู้ โดยกิจกรรมเกมการศึกษา สามารถกระตุ้นความสนใจให้เด็กอยากเรียนรู้และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
3. ครูมีความรู้ความเข้าใจ ได้พัฒนาความรู้และทักษะการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นโดยใช้นวัตกรรมใหม่ๆและตระหนักในการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
4. โรงเรียนมีนวัตกรรมใหม่ๆในการต่อยอดเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มขึ้น
5. โรงเรียนเป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอก หน่วยงานต่างๆและชุมชนเพิ่มขึ้น ทำให้ได้รับความไว้วางใจในการส่งบุตรหลานมาเข้าเรียน
6. ชุมชนมีความมั่นใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครู และร่วมกันพัฒนาโรงเรียนมากขึ้น