ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
ผู้ประเมิน : นายกิตติ วิชัยดิษฐ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์
สถานศึกษา : โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
ปีการศึกษา : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 โดยกำหนดกิจกรรมหลักไว้ 12 กิจกรรม ดังนี้ 1) กิจกรรมสอนเสริมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 3) กิจกรรมเยี่ยมบ้าน 4) กิจกรรม To Be Number One 5) กิจกรรมเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน 6) กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมและป้องกันแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ 7) กิจกรรมการจัดครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียน 8) กิจกรรมศิลปะ ดนตรี กีฬาต่อต้านยาเสพติด 9) กิจกรรมใครติดยายกมือขึ้น 10) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 11) กิจกรรมวันสำคัญและการเข้าค่ายลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด 12) กิจกรรมทัศนศึกษา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนในด้านต่างๆ ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม สามารถเรียนได้ตามศักยภาพและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการทำงาน เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับตนเอง โดยดำเนินการติดตามประเมินผลโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและนำข้อมูลมาใช้ประกอบในการตัดสินใจ ปรับปรุง แก้ไข พัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการประเมินโครงการครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Daniel L.Stufflebeam) มีขอบข่ายการประเมินโครงการที่ครอบคลุมการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ประเมินสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนพัฒนาหรือตัดสินใจในการดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ เป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างความเข็มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนใช้ในการวางแผน ปรับปรุง โครงการให้เหมาะสมและมีประสิทธิผลสูงสุด นำไปสาความยั่งยืนต่อไป โดยมีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้
วัตถุประสงค์ในการประเมินโครงการ
1. เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมหรือบริบท ก่อนการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น ที่มีผลต่อการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
3. เพื่อประเมินกระบวนการ ในการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
4. เพื่อประเมินผลผลิต ในการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
5. เพื่อประเมินผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
วิธีการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) ของสตัพเฟิลบีม (Daniel L. Stuffelbeam) มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเครื่องมือเพื่อให้เห็นภาพกระบวนการดำเนินการและเห็นภาพรวมของการดำเนินการพัฒนาตลอดโครงการ โดยทำการประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) และประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation)
1. ประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation)
การประเมินสภาวะแวดล้อม ผู้ประเมินได้ทำการประเมินก่อนดำเนินโครงการ โดยใช้เครื่องมือฉบับที่ 1 สอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษา จำนวน 90 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา-ขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน
2. ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation)
การประเมินปัจจัยเบื้องต้น ผู้ประเมินได้ทำการประเมินก่อนดำเนินโครงการ โดยใช้เครื่องมือฉบับที่ 2 สอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษา จำนวน 90 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา- ขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน
3. ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation)
การประเมินกระบวนการ ผู้ประเมินได้ประเมินขณะดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ประเมินกิจกรรมและขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการตามที่กำหนดไว้ โดยใช้เครื่องมือฉบับที่ 3 และเครื่องมือฉบับที่ 5 สอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษา จำนวน 90 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จำนวน 15 คน
4. ประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
การประเมินผลผลิต ผู้ประเมินได้ประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ใช้เครื่องมือฉบับที่ 4 และเครื่องมือฉบับที่ 6 สอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษา จำนวน 90 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน
5. ประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation)
การประเมินผลกระทบ ผู้ประเมินได้ประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 ใช้เครื่องมือฉบับที่ 7 สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 55 คน ใช้เครื่องมือฉบับที่ 8 สอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 55 คน
ใช้เครื่องมือฉบับที่ 9 บันทึกการติดตามนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จำนวน 55 คน และ
ใช้เครื่องมือฉบับที่ 10 บันทึกข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งโรงเรียน
ขอบเขตของประชากรและกลุ่มเป้าหมาย
ประชากร ประกอบด้วย
1. ครู ผู้ปฏิบัติการสอนและปฏิบัติครูที่ปรึกษาโรงเรียนคลอมท่อมราษฎร์รังสรรค์
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 96 คน
2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ ปีการศึกษา 2563
จำนวน 15 คน
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,776 คน
4. ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,776 คน
กลุ่มเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ คือ
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง และประชากร ดังนี้
1. ครู สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (ครูที่ปรึกษา) ปีการศึกษา 2563 จำนวน 90 คน
2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาจากประชากรคณะกรรมการสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน
3. นักเรียน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จำนวน 55 คน
4. ผู้ปกครอง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จำนวน 55 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินเพื่อรายงานผลครั้งนี้ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกการติดตามนักเรียน ซึ่งผู้ประเมินได้สร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการรายงานผลการพัฒนา ดังนี้ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่ใช้สอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมก่อนการดำเนินโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.66 ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่ใช้สอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจัยเบื้องต้นที่จำเป็นต้องใช้ดำเนินโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.78 ฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามที่ใช้สอบถามความคิดเห็น กระบวนการในการดำเนินโครงการมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 ฉบับที่ 4 เป็นแบบสอบถามที่ใช้สอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลผลิตจากการดำเนินโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.69 ฉบับที่ 5 เป็นแบบสอบถามที่ใช้สอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน การจัดกิจกรรมหลัก 12 กิจกรรมตามโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 ฉบับที่ 6 เป็นแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ประกอบด้วย 5 ด้านหลัก ดังนี้ ด้านที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านที่ 2 การคัดกรองนักเรียน ด้านที่ 3 การส่งเสริมนักเรียน ด้านที่ 4 การป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านที่ 5 การส่งต่อ ของครูที่ปรึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 ฉบับที่ 7 เป็นแบบสอบถามที่ใช้สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมหลัก 12 กิจกรรม ใช้กับกลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.72 ฉบับที่ 8 เป็นแบบสอบถามที่ใช้สอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่นักเรียนในความปกครองมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมหลัก 12 กิจกรรม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.78 ฉบับที่ 9 แบบบันทึกการติดตามนักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ บันทึกข้อมูลนักเรียนก่อนการดำเนินโครงการและหลังการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 10 แบบบันทึกผลการเรียนของนักเรียน ใช้บันทึกข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนการดำเนินโครงการและหลังการดำเนินโครงการ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation)
ได้ข้อมูลจากการใช้เครื่องมือฉบับที่ 1 สอบถามความคิดเห็นครูที่ปรึกษาและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 105 คน โดยรวมแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อบริบทหรือสภาวะแวดล้อมก่อนการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ อยู่ในระดับมาก ( =3.63, S.D.= 0.84) หากพิจารณารายข้อค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.84, S.D.=0.71) ซึ่งมีความคิดเห็นในระดับมาก ได้แก่ แผนการดำเนินงานและกิจกรรมตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ลำดับสอง มีความคิดเห็นในระดับมาก ( = 3.74, S.D.=0.81) ได้แก่ มีการนำข้อมูล สถิติสถานการณ์ปัจจุบันด้านปัญหาเกี่ยวข้องกับสารเสพติดและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ มาใช้ในการวางแผนดำเนินงานโครงการได้อย่างเหมาะสม
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation)
ได้ข้อมูลจากการใช้เครื่องมือฉบับที่ 2 สอบถามความคิดเห็นครูที่ปรึกษาและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 105 คน ที่มีต่อปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( =3.96, S.D.=0.87) หากพิจารณารายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ วิธีดำเนินการมีความเหมาะสมสามารถดำเนินการได้ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.37, S.D.=0.72) ซึ่งมีความคิดเห็นในระดับมาก
3. ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation)
ได้ข้อมูลจากการใช้เครื่องมือฉบับที่ 3 และเครื่องมือฉบับที่ 5 สอบถามความคิดเห็นครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 105 คน
3.1 ผลการใช้เครื่องมือฉบับที่ 3 สอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 105 คน ที่มีต่อด้านกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 3.73, S.D. = 0.83) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ลำดับ 1 คือ สรุปผลและจัดทำรายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ลำดับ 2 คือ มีการประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงาน มีความคิดเห็นในระดับมาก ลำดับ 3 คือ วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับสารเสพติด มีความคิดเห็นในระดับมาก และส่วนมากมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
( ³ 3.51)
3.2 ผลการใช้เครื่องมือฉบับที่ 5 สอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 105 คน ต่อกิจกรรมหลัก 12 กิจกรรม ตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.09 , S.D. = 0.81) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ลำดับ 1 คือ กิจกรรมออกเยี่ยมบ้านนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ลำดับ 2 คือ กิจกรรมศิลปะ ดนตรี กีฬาต่อต้านยาเสพติด มีความคิดเห็นในระดับมาก ลำดับ 3 คือ กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม มีความคิดเห็นในระดับมาก ลำดับ 4 คือ กิจกรรมทัศนศึกษา มีความคิดเห็นในระดับมาก และทุกกิจกรรมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( ³ 3.51)
4. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
ได้ข้อมูลจากการใช้เครื่องมือฉบับที่ 4 และเครื่องมือฉบับที่ 6 สอบถามความคิดเห็นครูที่ปรึกษาและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 105 คน
4.1 ผลการใช้เครื่องมือฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 105 คน ที่มีต่อด้านผลผลิตตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D. = 0.82) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ลำดับ 1 คือ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับ 2 คือ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนรู้จักตนเองและควบคุมตนเองได้
มีความคิดเห็นในระดับมาก ลำดับ 3 คือ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกตามสภาพของตนเอง มีความคิดเห็นในระดับมาก และส่วนมากมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( ³ 3.51)
4.2 ผลการใช้เครื่องมือฉบับที่ 6 ประเมินผลโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.00 , S.D. = 0.93) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ลำดับ 1 คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.37 , S.D.= 0.70) ส่วนมากมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( ³ 3.51) หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ลำดับ 1 คือ ข้อมูลด้านสุขภาพร่างกาย เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ลำดับ 2 คือ ออกเยี่ยมบ้านผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ลำดับ 3 คือ มีข้อมูลความสามารถคุ้มครองนักเรียนของผู้ปกครองที่ชัดเจน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)
ได้ข้อมูลจากการใช้เครื่องมือฉบับที่ 7 สอบถามความคิดเห็นนักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จำนวน 55 คน เครื่องมือฉบับที่ 8 สอบถามความคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียนที่นักเรียนในความปกครองมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จำนวน 55 คน และเครื่องมือฉบับที่ 9 บันทึกผลการติดตามนักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จำนวน 55 คน สรุปได้ดังนี้
5.1 นักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.44 , S.D. = 0.72) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ลำดับ 1 คือ กิจกรรมเยี่ยมบ้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับ 2 คือ กิจกรรมศิลปะ ดนตรี กีฬาต้านยาเสพติด มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ลำดับ 3 คือ กิจกรรมการจัดสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ลำดับ 4 คือ กิจกรรมทัศนศึกษา มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด และส่วนมากมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.51)
5.2 ผู้ปกครองนักเรียนที่นักเรียนในความปกครองมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ลำดับที่หนึ่ง คือ ความสำคัญและประโยชน์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.58) ส่วนรูปแบบการจัดกิจกรรม มีความคิดเห็นเป็นลำดับที่สอง ( = 4.51, S.D. = 0.65) หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ลำดับ 1 คือ มีความพึงพอใจต่อการจัดโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับ 2 คือ มีความพึงพอใจต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับ 3 คือ เห็นความสำคัญต่อการพัฒนานักเรียนในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนมากมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ( 4.51)
5.3 ผลการติดตามนักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ก่อนการดำเนินโครงการมีจำนวน 55 คน และเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ มีจำนวนลดลง 55 คน คิดเป็นร้อยละ 100
5.4 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนดำเนินโครงการ (ปีการศึกษา 2562) และหลังการดำเนินโครงการ (ปีการศึกษา 2563) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังดำเนินโครงการ(ปีการศึกษา 2563) สูงกว่าก่อนดำเนินโครงการ (ปีการศึกษา 2562) มีระดับผลการเรียนเพิ่มขึ้น 0.29 คิดเป็นร้อยละ 10.35
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินโครงการไปใช้
1.1 ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นงานสำคัญควรให้มีปรากฏในแผนปฏิบัติงานของโรงเรียน เพื่อให้มีความชัดเจนสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง
1.2 ครูทุกคนเป็นครูแนะแนว จึงต้องมีการอบรมเทคนิคการให้คำปรึกษา เพราะปัญหาของนักเรียนมีการพัฒนาขึ้นมาก ผู้ให้คำปรึกษาจึงต้องมีความรู้และเทคนิคการให้คำปรึกษาที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์
1.3 ครูควรสร้างนักเรียนให้สามารถเป็นที่ปรึกษาเพื่อนได้ จะได้ผลมากกว่าครูเป็นที่ปรึกษา เพราะนักเรียนมีความใกล้ชิดและวัยใกล้เคียงกันย่อมมีความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ดี
1.4 การให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการจัดทำเป็นหลักสูตรเครือข่ายผู้ปกครองในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จะทำให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และโรงเรียนมีความเข้าใจและสานสัมพันธ์กันได้ดีขึ้น
1.5 งานกิจการนักเรียน ควรจัดกิจกรรมที่เน้นการฝึกระเบียบวินัย เช่น ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร เพื่อฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัยมากยิ่งขึ้น
1.6 ผู้บริหารควรได้มีการฝึกอบรมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และถูกต้องชัดเจน เพื่อส่งเสริมให้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาแนวทางในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน
2.2 ควรทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด
2.3 ควรมีการประเมินระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนที่จัดการศึกษาให้กับนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาสและนักเรียนพิการ
2.4 ควรนำผลการศึกษาวิจัยในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปใช้อย่างจริงจัง เพื่อผลการพัฒนาผู้เรียน