การวิจัยเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่
ผู้วิจัย : กิตติ วิชัยดิษฐ
หน่วยงาน : โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ แนวปฏิบัติที่ดี และแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายใน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ และ 5) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ให้มีความยั่งยืน กรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กำหนดขั้นตอนการวิจัยและพัฒนารูปแบบการนิเทศ ดังนี้ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ แนวปฏิบัติที่ดี และแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายใน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีการนิเทศภายใน (Best practices) ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายใน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ โดยการสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ยกร่างรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบร่างรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ และระยะที่ 5 จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ให้มีความยั่งยืน
ประชากรรองผู้อำนวยการ และครูโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ จำนวน 92 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถาม สภาพการดำเนินงานการนิเทศภายใน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ 2) แบบสัมภาษณ์การศึกษาดูงานสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน 3) แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายใน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ 4) แบบบันทึกการยกร่างรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ 5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มร่างรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ 6) แบบประเมินร่างรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ 7) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 8) แบบสอบถามสภาพการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ 9) แบบประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ และ 10) แบบบันทึกข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ให้มีความยั่งยืน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า
ระยะที่ 1 ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ แนวปฏิบัติที่ดี และแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายใน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ดังนี้
1) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อปัญหาการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.56, σ = 0.21)
2) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อปัญหาการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านการศึกษาความต้องการจำเป็นในการนิเทศภายในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.58, σ = 0.39)
3) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อปัญหาการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.71, σ = 0.20)
4) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อปัญหาการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.51, σ = 0.28)
5) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อปัญหาการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านการติดตาม และประเมินผลการนิเทศภายในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.60, σ = 0.34)
6) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อปัญหาการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านการสรุปผลการนิเทศภายในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.39, σ = 0.22)
7) ความต้องการการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.53, σ=0.44)
8) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อความต้องการการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ =4.58, σ =0.53)
9) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อความต้องการการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(μ =4.53, σ =0.49)
10) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อความต้องการการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(μ =4.50, σ =0.50)
11) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อความต้องการการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(μ =4.51, σ =0.48)
12) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อความต้องการการนิเทศภายในของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(μ =4.55, σ =0.49)
ระยะที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ดังนี้
1) รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ โดยมีการปฏิบัติ 5 ขั้นตอน เรียกว่า “K-NPDMR” ดังนี้
1) โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ (Klongtomratrangsan School : K) 2) การศึกษาความต้องการจำเป็นในการนิเทศภายในโรงเรียน (Need assessment : N) 3) การวางแผนการนิเทศภายโรงเรียน (Planning : P) 4) การปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียน (Doing : D) 5) การติดตาม และประเมินผลการนิเทศภายในโรงเรียน (Monitoring and Evaluation : M) 6) การสรุปผลการนิเทศภายในโรงเรียน (Reporting : R)
2) ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อต่อร่างรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.49, S.D.=0.36)
3) ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อร่างรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่
3.1 ความเป็นไปได้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.60, S.D.=0.40)
3.2 ความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.44, S.D.=0.48)
3.3 ความถูกต้อง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.47, S.D.=0.37)
3.4 ความเหมาะสม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.43, S.D.=0.38)
ระยะที่ 3 ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ดังนี้
1) ความคิดเห็นรองผู้อำนวยการและครู จำนวน 96 คน มีความคิดเห็นต่อสภาพการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ =4.47, σ =0.49)
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2562 (มีค่าเฉลี่ย 2.82) กับ ปีการศึกษา 2563 (มีค่าเฉลี่ย 3.10) โดยภาพรวมมีระดับผลการเรียนเพิ่มขึ้น 0.29 คิดเป็นร้อยละ 10.35
3) ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.54, σ=0.45)
ระยะที่ 4 ผลประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่
ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารต่อรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ ด้านความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ จำนวน 16 คน ดังนี้
1) ความเป็นไปได้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.33, S.D.=0.58)
2) ความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.49, S.D.=0.53)
ระยะที่ 5 ผลจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ให้มีความยั่งยืน
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน ระดับสถานศึกษา
1. สถานศึกษาควรมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน อย่างชัดเจน
2. สถานศึกษาควรมีการกำหนดโครงสร้างการบริหารที่สอดคล้องกับนโยบาย มีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
3. สถานศึกษา ควรมีการมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามโครงสร้างการบริหารงาน ตามความรู้ความสามารถของครูและบุคลากร
4. สถานศึกษาควรมีการวางแผนดำเนินงานเกี่ยวกับการนิเทศภายในโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอย่างเป็นระบบ
5. มีการกำหนดติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
6. มีการสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน และนำผลการดำเนินงานมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน ระดับผู้บริหารสถานศึกษา
1. ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ การบริหารโดยการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน
2. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการทำงานเป็นทีม
4. ผู้บริหารมีการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน
5. ผู้บริหารมีการสนับสนุนงบประมาณในการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน
6. ผู้บริหารมีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
7. ผู้บริหารมีการส่งเสริมขวัญกำลังใจแก่ครู มีการส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง