บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพ
การจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3) เพื่อวัดความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ในครั้งนี้ จำแนกตามระยะของการวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง เป็นทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมิน ความเหมาะสมสอดคล้องของหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขนาดเล็ก ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 4 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา 2) แบบประเมินทักษะความสามารถในการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 4 การประเมินหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 125 คนจาก 125 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้เครื่องมือชุดเดียวกันกับระยะที่ 3 ซึ่งผ่านการหาคุณภาพมาจนได้ตามมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
1. ผลจากการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมส่วนใหญ่ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์บริบท และกำหนดจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของหลักสูตร ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร โดยกำหนดสาระการเรียนรู้ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ขั้นตอนที่ 3 การนำหลักสูตรไปใช้จัดการเรียนรู้ โดยการวางแผน การกำกับติดตามการใช้หลักสูตร และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลหลักสูตร ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของหลักสูตร ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ สาระสำคัญ เนื้อหา กิจกรรม ระยะเวลา สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดประเมินผล
2. ความต้องการจำเป็นในการสร้างหลักสูตร โดยการสัมภาษณ์ พบว่า
2.1 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เป็นสาระวิชาที่มีความยุ่งยากในการจัดการเรียนการสอนสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณนั้น ครูผู้สอนต้องมีพื้นฐานที่ดีในด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ไม่ได้จบมาทางด้านนี้โดยตรง
2.2 โรงเรียนขนาดเล็ก ควรมีหลักสูตรเฉพาะในการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ที่จะได้ลดความยุ่งยาก และสร้างความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้เรื่องนี้
2.3 การฝึกอบรมจะช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการจัดการเรียนการรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ได้ดีถ้าหลักสูตรฝึกอบรมมีคุณภาพ สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของครูผู้สอน มีกระบวนการฝึกอบรมที่ดี และมีการนิเทศ ติดตามช่วยเหลือแนะนำ ครูอย่างต่อเนื่อง
2.4 รูปแบบของหลักสูตรเฉพาะในการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ควรจัดให้มีครบทุกองค์ประกอบเหมือนหลักสูตรทั่วไป แต่ให้เน้นที่แนวปฏิบัติให้มี ความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนขนาดเล็ก ควรมีตัวอย่างกิจกรรมที่เหมาะสม และควรบูรณาการ กับสาระอื่นได้จะลดปัญหาการจัดการเรียนสำหรับโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้น
ผลการวิจัยระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม มีผลดังนี้
1. โครงร่างของหลักสูตรฝึกอบรมผู้วิจัยสร้างขึ้น มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมาย 4) โครงสร้างเนื้อหา 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) สื่อประกอบการฝึกอบรม และ 7) การวัดและประเมินผล ซึ่งเนื้อหาในหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 หน่วยการเรียนรู้ รวมเวลาเรียนทั้งหมด 12 ชั่วโมง หน่วยที่ 1 การสร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของเทคโนโลยี เวลา 2 ชั่วโมง หน่วยที่ 2 รู้จักวิทยาการคำนวณเพื่ออนาคตที่สดใสของนักเรียน เวลา 3 ชั่วโมง หน่วยที่ 3 ทบทวนยุทธวิธีที่จะสอน เวลา 4 ชั่วโมง หน่วยที่ 4 สะท้อนผลการเรียนรู้ เวลา 3 ชั่วโมง
2. การตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรฝึกอบรม มีความสอดคล้องเหมาะสมที่จะนำไปใช้ได้อย่างดี โดยค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และผู้วิจัยได้ปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมตามที่ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะไว้ ดังนี้ 1) ปรับภาษาให้เหมาะสม สั้น กระชับ ชัดเจนขึ้น 2) ปรับรูปเล่มให้ภาพประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้าอบรม และจดจำเนื้อหาได้ง่าย 3) ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับเวลาที่ใช้ในการอบรม
ผลการวิจัยระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม มีผลดังนี้
1.ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.57/80.00 โดยประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ 80.57 และประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ 80.00 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด 80/80
2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 มีผลดังนี้
2.1 ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา ของครูผู้สอนกลุ่มทดลอง หลังเรียนจบหลักสูตร จากผู้เข้าอบรมทั้งหมด 30 คน มีคุณภาพระดับดีมาก จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 56.67 ระดับดี จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 40 และระดับพอใช้ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.33 ส่วนระดับปรับปรุงไม่มี
2.2 ทักษะความสามารถในการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา กลุ่มทดลอง จากผู้เข้าอบรมทั้งหมด 30 คน มีคุณภาพระดับดีมาก จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 ระดับดี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67
3. ผลการวัดความพึงพอใจต่อหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
ผลการวิจัยระยะที่ 4 การประเมินหลักสูตรฝึกอบรม มีผลดังนี้
1. ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.57/80.00 โดยประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ 80.63 และประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ 80.58 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด 80.63/80.58
2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 มีผลดังนี้
2.1 ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา ของประชากรหลังฝึกอบรมจบหลักสูตร จากผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด 125 คน มีคุณภาพระดับดีมาก จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 86.40 ระดับดี จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 13.60 ระดับพอใช้ และระดับปรับปรุงไม่มี
2.2 ทักษะความสามารถในการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา ผู้เข้าอบรม 125 คน มีคุณภาพระดับดีมาก จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 ระดับดี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 32.00 ระดับพอใช้ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 8.00
3. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษา สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก