บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนาของครูโรงเรียนวัดตโปทาราม และ 2) สร้างและประเมินผลนวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะของครูโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ AIC โรงเรียนวัดตโปทาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 แหล่งข้อมูลใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถานศึกษาที่นำนวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทาราม ไปใช้ในสภาพจริง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนาของครู โรงเรียนวัดตโปทาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ประกอบด้วย สมรรถนะการพัฒนาตนเอง สมรรถนะการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และสมรรถนะการวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 2) ผลการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครู โรงเรียนวัดตโปทาราม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ AIC พบว่า มีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ (1) ประเมินความต้องการจำเป็น (2) วัตถุประสงค์การพัฒนา (3) วิธีการพัฒนา (4) แนวทางการดำเนินการพัฒนา และ (5) ประเมินผลการพัฒนา ผลการทดลองใช้นวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครู โรงเรียนวัดตโปทาราม พบว่า นำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานครูมีผลการประเมินประสิทธิผล ทั้ง 3 สมรรถนะอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินความเหมาะสมของนวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทารามภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทาราม พบว่า สมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนาของครู โรงเรียนวัดตโปทาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ประกอบด้วย สมรรถนะการพัฒนาตนเอง สมรรถนะการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และสมรรถนะการวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. ผลการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครู โรงเรียนวัดตโปทาราม พบว่า มีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินความต้องการจำเป็น 2) วัตถุประสงค์การพัฒนา 3) วิธีการพัฒนา 4) แนวทางการดำเนินการพัฒนา และ 5) ประเมินผลการพัฒนา
3. ผลการทดลองใช้ นวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทาราม พบว่า ประสิทธิผลทั้ง 3 สมรรถนะอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินผลการใช้นวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทาราม พบว่า ความเหมาะสมของนวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครู โรงเรียนวัดตโปทาราม ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.68, S.D. = 0.59)
อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน 4 ขั้นตอน ผู้วิจัยได้อภิปรายผลตามลําดับ ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทารามพบว่า ครูโรงเรียนวัดตโปทาราม มีความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะสมรรถนะการพัฒนาตนเอง สมรรถนะการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้และสมรรถนะการวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนสอดคล้องกับ ผลการศึกษาของ นพดลย์ เพชระ(Petchara, Nopadon. 2009) ที่ศึกษาพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนาของครูโรงเรียนวัดโคกทราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประกอบด้วย สมรรถนะการพัฒนาตนเอง สมรรถนะการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และสมรรถนะการวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. ผลการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทาราม พบว่ามีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินความต้องการจำเป็น 2) วัตถุประสงค์การพัฒนา 3) วิธีการพัฒนา 4) แนวทางการดำเนินการพัฒนา และ 5) ประเมินผลการพัฒนาซึ่งสอดคล้องกับซึ่งสอดคล้องกับ กมลรัตน์ แก่นจันทร์ (Kaenchan, Kamonlrat. 2017 : 17) ได้ทำการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กลไกของรูปแบบ 4) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ 5) แนวการประเมินรูปแบบ และ6) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ
3. ผลการทดลองใช้นวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทาราม พบว่า นำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีเพราะมีกระบวนการปฏิบัติงานอย่างมีขั้นตอน ชัดเจน และง่ายต่อการปฏิบัติ ทำให้เกิดประสิทธิผลของงานได้จริง จึงได้นวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาสมรรถนะครูซึ่งมีผลการรับรองประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลดังผลการเปรียบเทียบการศึกษาบริบทก่อนและหลังการนำนวัตกรรมไปใช้ และผลการประเมินด้านประสิทธิผลซึ่งเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการนำนวัตกรรมไปใช้โดยมีผลการประเมินบริบทหลังจากนำนวัตกรรมไปใช้แล้วมีการพัฒนาขึ้นทุกด้าน และผลการประเมินประสิทธิผลทั้ง 3 สมรรถนะอยู่ระดับมากสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ธริศร เทียบปาน (Tharisorn Tiebpan. 2019 : 118) ได้พัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้ ผลการวิจัยพบว่า ผลการนำรูปแบบไปทดลองใช้ โดยการนำคู่มือรูปแบบการบริหารงานวิชาการไปทดลองใช้กับโรงเรียนแจ้งวิทยา ได้ผลการประเมินคุณภาพการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการมีตัวบ่งชี้รายการประเมินทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับคุณภาพดีและดีมาก
4. ผลการประเมินผลการใช้นวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทาราม พบว่า ความเหมาะสมของนวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทาราม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ปริชาติ ชมชื่น (Chomchuen, Parichat. 2012 : 287-288) พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 หน่วยงานต้นสังกัดควรส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ในสถานศึกษาโดยเน้นการขับเคลื่อนการพัฒนาตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (PAOR) และดำเนินการตามกรอบวงจรคุณภาพ PDCA ซึ่งใช้กระบวนการประชุมแบบ AIC มาร่วมในการบริหารงานวิชาการ จะทำให้เกิดผลของการนำนวัตกรรมไปใช้ได้เหมาะสม เป็นประโยชน์และเกิดประสิทธิผลของงานได้จริง
1.2 สถานศึกษาและผู้ที่มีส่วนร่วมที่จะนำนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล
ควรต้องศึกษาเกี่ยวกับวิจัยปฏิบัติการ วงจรคุณภาพ PDCA อย่างชัดเจนเพื่อการนำมาบูรณาการการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสมรรถนะครูและเป็นแบบอย่างให้กับสถานศึกษาข้างเคียงได้ต่อไป
1.3 นำนวัตกรรมไปใช้ในสถานศึกษาอื่น เพื่อสร้างแนวการพัฒนาสมรรถนะครูที่เป็นระบบสามารถปฏิบัติได้จริงและเกิดประสิทธิผลในด้านการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา
2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาประสิทธิผลที่นำนวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครู ไปใช้ในสถานศึกษา
ทุกระดับ
2.2 ควรศึกษาความพึงพอใจในการนำนวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียน
วัดตโปทาราม ไปใช้ในสถานศึกษาทุกระดับ
2.3 ควรศึกษานวัตกรรมการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนวัดตโปทารามสามารถ
ประยุกต์ใช้ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่สร้างประสิทธิผลเพิ่มขึ้นในสถานศึกษาทุกระดับ