อวิจัย : การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียนตามแนวทางโรงเรียนคุณธรรมของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ผู้วิจัย : กาญจนา ฮวดศรี
ปีที่วิจัย : 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียนตามแนวทางโรงเรียนคุณธรรมของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ซึ่งมีวิธีดำเนินการประเมิน ดังนี้ 1)การประเมินด้านบริบท กลุ่มเป้าหมาย คือ 1.1 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำวน 7 คน 1.2 รองผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน 1.3 ครูผู้สอน ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 37 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สอบถามความสอดคล้องด้านบริบทกับโครงการฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2)การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอน ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 37 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สอบถามความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3)การประเมินด้านกระบวนการ การวางแผน การลงมือปฏิบัติการตรวจสอบ และการปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4)การประเมินด้านผลผลิต 1.ประเมินจากคุณภาพผู้เรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์ 3 ด้าน 1).ด้านความซี่อสัตย์ 2).ด้านความพอเพียง 3).ด้านความรับผิดชอบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอน จำนวน37 คน เครื่องมือ แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. ประเมินจากคุณภาพของกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือ คือ แบบประเมินคุณภาพของกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมินโครงการฯ
1.ด้านบริบท พบว่า โครงการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียนตามแนวทางโรงเรียนคุณธรรม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ มีความสอดคล้องกับสภาพบริบทที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน รองผู้อำนวยการ และครูผู้สอน มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58,  = 0.28)
2.ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการฯ ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ และการบริหารจัดการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66,  = 0.15) โดยด้านบุคลากร มีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด ( = 4.71,  = 0.28) ด้านงบประมาณ มีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด ( = 4.67,  = 0.40) และด้านการบริหารจัดการ มีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด( = 4.57,  = 0.27)
3.ด้านกระวนการ พบว่า ในการดำเนินโครงการฯ มีระดับความเหมาะสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59,  = 0.16) โดยการวางแผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63,  = 0.27)การลงมือปฏิบัติ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58,  = 0.30) การตรวจสอบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58,  = 0.43) และการปรับปรุง การดำเนินงานมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.59,  = 0.30)
4.ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า 1)คุณภาพของนักเรียน ระดับพฤติกรรมนักเรียนหลังเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียน ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความพอเพียง และด้านความรับผิดชอบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ( = 4.90,  = 0.30) 2)ด้านคุณภาพกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.82,  = 0.08)