ชื่อวิจัย : รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ผู้วิจัย : กาญจนา ฮวดศรี
ปีที่วิจัย : 2564
คำสำคัญ : รูปแบบการบริหาร,ความสามารถของครู,การจัดทำวิจัยในชั้นเรียน
บทคัดย่อ
รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบ ความต้องการและแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ 2)เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารฯ 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารฯ 4)เพื่อประเมินความไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารฯในการนำรูปแบบฯ โดยในขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ ความต้องการและแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ โดยดำเนินการปีการศึกษา 2563 ดังนี้ 1)การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบฯ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือ คือ แบบสังเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การศึกษาความต้องการและแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ครู จำนวน 11 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3)การศึกษาแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือ คือ ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ โดยดำเนินการปีการศึกษา 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน เครื่องมือ คือ ประเด็นการตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบการบริหารฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ โดยดำเนินการปีการศึกษา 2564 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ครู จำนวน 37 คน เครื่องมือ คือ แบบทดสอบวัดความรู้ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติของครู แบบวัดเจตคติของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ในการนำรูปแบบการบริหารฯไปใช้ในศูนย์การศึกษาพิเศษอื่น ในปีการศึกษา โดยดำเนินการปีการศึกษา 2564 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 20 คน ครู จำนวน 200 คน เครื่องมือ คือ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารฯ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่2 จุดมุ่งหมายของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยนำเข้า องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการ องค์ประกอบที่ 5 ผลผลิต
2. รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ ที่สร้างขึ้นภาพรวม มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และผลจากการทดลองใช้รูปแบบการฯ ระดับความสามารถขอครู มีดังนี้
2.1 ด้านความรู้ ครูมีคะแนนจากทดสอบวัดความรู้ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม คิดเป็นร้อยละ 91.72
2.2 ด้านทักษะ ครูมีทักษะการปฏิบัติด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับดีเยี่ยม
2.3 ด้านเจตคติ ครูมีเจตคติด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
3. ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ในการนำรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ไปใช้ ภาพรวม มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด