ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน
โรงเรียนดอนมดแดงวิทยาคม ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน นายไพฑูรย์ แจ่มพันธ์
ปีการศึกษา 2564
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน โรงเรียนดอนมดแดงวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ศึกษาผลกระทบของโครงการ และความพึงพอใจต่อโครงการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 296 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการด้านสภาพแวดล้อม แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการด้านกระบวนการ แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการด้านผลผลิต แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. การประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน โรงเรียนดอนมดแดงวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.03, S.D. = 0.73) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นสูงสุด 3 อันดับแรก พบว่า อันดับแรกคือ ด้านผลผลิต รองลงมาคือ ด้านปัจจัยนำเข้า อันดับที่สามคือ ด้านสภาพแวดล้อม ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านกระบวนการ ตามลำดับ
2. ผลกระทบของการประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนด้านการผลิต พบว่า ภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.17, S.D.= 0.71) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรกคือ นักเรียนเห็นประโยชน์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิต รองลงมาคือ นักเรียนมีพฤติกรรมทางสังคมดีขึ้น ทั้งในด้านการเรียน การทำงาน และการอยู่ร่วมกัน และนักเรียนรู้และเข้าใจเป้าหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิต มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบในการทำงาน และความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานในการวางแผน กำหนดนโยบายลงสู่การปฏิบัติ เสนอแนะข้อคิดเห็น ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขที่เป็นประโยชน์ กำหนดบทบาทหน้าที่ของครู บุคลากรให้ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิตนักเรียน แสวงหาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิตที่นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติจริง และหารือเกี่ยวกับการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนในการระดมทรัพยากร และปัจจัยด้านอื่น ๆ ประสานขอความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนในการขอความอนุเคราะห์ให้นักเรียนเข้าศึกษาดูงาน หรือได้ฝึกทักษะและประสบการณ์ นักเรียนได้รับความรู้ มีทักษะและประสบการณ์การทำงาน มีเจตคติที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถพัฒนาหลักสูตรและจัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน
3. ความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน โรงเรียนดอนมดแดงวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.12, S.D. = 0.75) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความ
พึงพอใจสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรกคือ ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิตนักเรียนต่อไป รองลงมาคือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิต มีประโยชน์ต่อนักเรียน และนักเรียนสามารถนำทักษะชีวิตไปปรับใช้ในอนาคตได้ ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดแก่บุคคลอื่นได้