ชื่อเรื่อง การวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางธีรารัตน์ โพธิราช
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด กองการศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด กองการศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะ การเขียนเชิงวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่า t test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
1.1 ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบสอบถามครูจากโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 20 คน โดยภาพรวม ความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับ ปานกลาง (X ̅=3.53) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.86)
1.2 ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบสอบถามนักเรียนจากโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 20 คน โดยภาพรวม ความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับ มาก (X ̅=4.26) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.10)
2. ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2.1 ได้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน และ 4) การประเมินผล
2.2 กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นสอน 3) ขั้นสรุป สื่อและแหล่งการเรียนรู้เป็นสื่อวัสดุและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่นักเรียนและผู้สอนใช้ ได้แก่ ใบงาน ใบความรู้ หนังสือ อินเทอร์เน็ต
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการเขียนเชิงวิเคราะห์ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการเรียนรู้หลังเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.50) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.55)