ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถ
ในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวชนธิชา แก้ววิชัย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพังงูพิทยาคม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
ปีที่วิจัย : 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินผลการใช้และปรับปรุงแก้ไขแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพังงูพิทยาคม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เป็นเวลา
22 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง คือ The One Group Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน จำนวน 9 ชุด 4) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง จำนวน 22 แผน 5) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 30 ข้อ 6) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ จำนวน
แบบอัตนัย 15 ข้อ 7) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t test for Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เห็นสมควรให้มีการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า สร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ได้จำนวน 7 ชุด คุณภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เท่ากับ 80.48/80.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. ผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีพัฒนาการเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
4. ผลการประเมินผลการใช้และปรับปรุงแก้ไขแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับคำถามระดับสูง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 มีความคิดเห็นต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้
1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านรูปแบบของแบบฝึกทักษะ 3) ด้านการวัดผลประเมินผล และ 4) ด้านเนื้อหา เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) กิจกรรมเรียงลำดับจากง่ายไปยาก 2) เร้าความสนใจของผู้เรียน ภาพประกอบชัดเจน เข้าใจง่าย 3) แบบฝึกทักษะสอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์ และ 4) เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เครื่องมือวัดผลประเมินผลชัดเจนและมีประสิทธิภาพ และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 14 ข้อ