บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การรายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 116 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 50 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 50 คน สุ่มตัวอย่างจากผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 4 ฉบับ ซึ่งครอบคลุมประเด็นการประเมิน 4 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยโปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ โดยรวมเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านผลผลิต รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านบริบท มีรายละเอียด ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ
(Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ มีความเหมาะสมในการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดเชิงคำนวณ แก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ รองลงมาคือการกำหนดเป้าหมาย วิธีการดำเนินการและระยะเวลาดำเนินการมีความเหมาะสมและปฏิบัติจริงได้
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมนักเรียนให้มีทักษะการคิดเชิงคำนวณ แก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ รองลงมาคือ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสื่อที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การปฏิบัติงานตามโครงการในหน้าที่ที่แต่ละคนรับผิดชอบ รองลงมา คือ การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการดำเนินงานตามโครงการ การกำหนดขั้นตอน รายละเอียดและวิธีดำเนินโครงการอย่างชัดเจนและเหมาะสม
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน สร้างความกระตือรือร้นและสร้างบรรยากาศในการเรียนของนักเรียน รองลงมาคือ มีการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้วิธีการจัดวิธีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยมีการบูรณาการเรียนรู้กลุ่มสาระต่าง ๆ