การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน
โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ
(1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และกระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 (2) การสร้างและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน (3) ทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน และ(4) ประเมินรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และกระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 165 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยครูผู้ร่วมใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน จำนวน 17 คน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยครูผู้ร่วมใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ศึกษาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูและกระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก และผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการชี้แนะ ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2.การสร้างรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ กระบวนการพัฒนารูปแบบ และการวัดและประเมินผล และการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการและเหตุผลของคู่มือ วัตถุประสงค์ของคู่มือ กรอบเนื้อหาของคู่มือ และการประเมินผลของคู่มือ และผลตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ ผลตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3.ทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน
3.1 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ก่อนการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2562 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รวมเฉลี่ย 75.52 และหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2563 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รวมเฉลี่ย 81.54 สรุปว่ามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.02 ซึ่งเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 3
3.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการสอบมาตรฐานชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ก่อนการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2562 มีคะแนนผลการสอบมาตรฐานชั้นเรียนลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รวมเฉลี่ย75.52 และหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนผลการสอบมาตรฐานชั้นเรียนลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รวมเฉลี่ย81.54 สรุปว่ามีคะแนนผลการสอบมาตรฐานชั้นเรียนลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.02 ซึ่งเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 3
3.3 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2562 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมเฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 37.11 และหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2563 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมเฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 39.19สรุปว่ามีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมเฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.27 ซึ่งเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 3
4. ประเมินรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของครูก่อนร่วมโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และหลังร่วมโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการชี้แนะของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของครูก่อนร่วมโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และหลังร่วมโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของครูผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการชี้แนะเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก