ชื่องานวิจัย การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย อมรรัตน์ บุญปั้น
สถานศึกษา โรงเรียนหัวถนนวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการสอนภาษาไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินผลรูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนหัวถนนวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการสอนภาษาไทย แบบประเมินรูปแบบฯ แบบประเมินการสอน แบบประเมินทักษะการคิดระดับสูง และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคการสอนภาษาไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการร่วมสนทนากับครูผู้สอน พบว่า ภาษาไทย โดยเฉพาะวรรณคดีไทย ครูผู้สอนมีวิธีสอนไม่น่าสนใจ ขาดกระบวนการคิด การบูรณาการสู่ชีวิตจริง ดังนั้นครูควรสอนวรรณคดีไทยในลักษณะยั่วยุ ให้นักเรียนคิดหาเหตุผล คิดอย่างกว้างขวาง และปลูกฝังให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ชื่อ RSUPA Model ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการสอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้ (Repeat) ขั้นที่ 2 สู่การค้นหา (Search) ขั้นที่ 3 นำพาเข้าใจ (Understand) ขั้นที่ 4 พร้อมให้ปฏิบัติ (Practice) ขั้นที่ 5 จัดสรุปประยุกต์ใช้ (Applied) และการวัดผลประเมินผล
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า จากการประเมินทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินรูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Research Name Research and Development of Integrated Thai Teaching Model using literature as a base to enhance high-level thinking skills of Mathayomsuksa 4 students
Researcher Amornrat Boonpan
Educational Institution Hua Thanon Wittaya School under the Chonburi Provincial Administrative Organization
Academic year 2021
Abstract
The objectives of this research were 1) to analyze problems and obstacles in teaching Thai language of Mathayomsuksa 4 students, 2) to develop an integrated Thai language teaching model using literature as a base to enhance high-level thinking skills of Mathayomsuksa 4 students; 3) to experiment with an integrated Thai language teaching model using literature as a base to enhance the high-level thinking skills of Mathayomsuksa 4 students, and 4) students to evaluate the integrated Thai language teaching model using literature as a base To enhance high-level thinking skills of Mathayomsuksa 4 students. The target group is Mathayomsuksa 4/1 students at Hua Thanon Wittaya School, semester 2 of the academic year 2021. The tools used for this research and data collection were problem and obstacle questionnaires in teaching Thai language model, assessment form teaching, assessment form High-level thinking skills, assessment form and a questionnaire to measure the satisfaction of students towards the integrated Thai language teaching style using literature as a base To enhance the high-level thinking skills of Mathayomsuksa 4 students, the data were analyzed by means of averages, standard deviation, and t-test (t-test). The results showed that
1. The results of the study of problems and obstacles in teaching Thai language Mathayomsuksa 4 students from the participating in conversation with teachers found that Thai language, especially Thai literature. Teachers have an uninteresting way of teaching. Lack of thought process Integration into real life Therefore, teachers should teach Thai literature in a provocative manner. Ask students to reason think widely and instilling in students a good attitude towards Thai language.
2. The results of the development of an integrated Thai teaching model using literature as a base To enhance the high-level thinking skills of Mathayomsuksa 4 students, it was found that the name of the RSUPA Model consists of concepts, principles, objectives, and teaching steps, i.e. step 1, review of knowledge (Repeat), step 2 to search (Search), step 3. Understand, step 4, ready to implement (Practice), step 5, provide a summary of applications (Applied) and evaluation.
3. The results of the experimental use of the integrated Thai language teaching model using literature as a base To enhance the high-level thinking skills of Mathayomsuksa 4 students, it was found that from the assessment of the high level thinking skills of Mathayomsuksa 4 students after using the model, statistically significantly higher than before applying the pattern at the .05 level.
4. Evaluation of the integrated Thai language teaching model using literature as a base to enhance the high-level thinking skills of Mathayomsuksa 4 students, it was found that Mathayomsuksa 4 students were satisfied with the integrated Thai language teaching model using literature as a base to enhance the high-level thinking skills of Mathayomsuksa 4 students overall, it is at a high level.