บทสรุปสำหรับการประเมินโครงการ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย คุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ พฤติกรรมการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่น และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน กลุ่มประชากรใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 72 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 โรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ครูในโรงเรียน จำนวน 6 คน ผู้ปกครอง จำนวน 29 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.84 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของรายงานการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและด้านความเป็นไปได้ของโครงการ ก่อนดำเนินโครงการ โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.60 , ơ= 0.46) และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.66 , ơ= 0.45)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของรายงานการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความพร้อมของบุคลากร ด้านความเพียงพอของงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ และด้านการบริหารจัดการ ก่อนดำเนินโครงการ โดยภาพรวม พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (µ = 4.35 , ơ = 0.31)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของรายงานการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผนการดำเนินงาน ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม ด้านการติดตามและประเมินผล และด้านการนำผลไปปรับปรุงพัฒนาระหว่างดำเนินการ โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.68 , ơ = 0.23) กลุ่มครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.73 , ơ = 0.32) และกลุ่มผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.67 , ơ = 0.23)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของรายงานการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล หลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวมได้คะแนนรวมเฉลี่ย 60 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
4.1 ด้านคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยการสอบถามนักเรียน ครู และผู้ปกครองทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.70, ơ = 0.27) กลุ่มครู มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.54 , ơ = 0.28) และกลุ่มผู้ปกครอง มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.75 , ơ = 0.21)
4.2 ด้านการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ โดยการสอบถามนักเรียนและครู ทั้ง 2 กลุ่มผู้ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.64, ơ = 0.20) และกลุ่มครู มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.67, ơ = 0.11)
4.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ ปีการศึกษา 2563 โดยการสอบถามนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.61 , ơ = 0.25) กลุ่มครู มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (µ = 4.39 , ơ = 0.14) และกลุ่มผู้ปกครอง มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (µ = 4.49 , ơ = 0.20)
4.4 ด้านความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินรายงานการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล โดยการสอบถามนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินรายงานการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.58 , ơ = 0.22) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการผลการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม/ โครงการ (µ =4.83 , ơ = 0.38) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 2 รายการ คือ รายการกิจกรรมปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และจัดหาคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อการใช้งาน (µ =4.72 , ơ = 0.45) อยู่ในระดับมากที่สุด และรายการกิจกรรมจัดสร้างหลังคาสนามเด็กเล่นและซ่อมแซมเครื่องเล่นให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ (µ =4.72 , ơ = 0.45) อยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยกลุ่มนักเรียนมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (µ = 4.51 , ơ = 0.16) กลุ่มครู มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (µ = 4.53 , ơ = 0.29) กลุ่มผู้ปกครอง มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (µ = 4.67 , ơ = 0.23) และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (µ = 4.54 , ơ = 0.24)
สรุปภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ค่าน้ำหนักร้อยละ 100 ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน