ชื่อเรื่อง รายงานวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์
ชื่อผู้วิจัย นายทรงศิลป์ ศรีธรราษฎร์
สถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้าง
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา
แบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อรูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 2 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน
6 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน 3 คน และ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้เรียนชั้นประถมปีที่ 1 3 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1907, pp.608) และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกตามระดับชั้น แล้วสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลากได้กลุ่มตัวอย่างผู้เรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 80 คน ผู้ปกครองของผู้เรียนชั้นประถมปีที่ 1 3 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยเป็นผู้ปกครองของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบประเมินความเหมาะสม
ของรูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ แบประเมินความเหมาะสมของคู่มือประกอบการดําเนินการตามรูปแบบการจัดการศึกษาแบบ
มีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน อนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนตามรูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อรูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ
ที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ มีลักษณะ คือ
1.1 ขาดการมีส่วนร่วมจาก ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในท้องถิ่น ในการร่วมกันคิด วางแผน และพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงทําให้การจัดการศึกษาไม่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
1.2 ภาระหน้าที่งานพิเศษที่ได้รับมอบหมายมีจํานวนมาก
1.3 ผู้เรียนขาดโอกาสในการพัฒนาด้านต่าง ๆ และการต่อยอดความรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้
2. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาแบบ
มีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน อนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
ด้านบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วม ด้านลักษณะการมีส่วนร่วม ด้านกระบวนการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32 S.D = 0.69)
3. ความเหมาะสมของคู่มือประกอบการดําเนินการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน อนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.10 S.D = 0.68)
4. พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนตามรูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้าง
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก ( = 4.31 S.D = 0.65)
5. ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อรูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้าง
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ อยู่ในระดับมาก ( = 4.24 S.D = 0.65)