บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง เศษส่วนของ พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา เป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และขั้นตอนที่ 3 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) คู่มือการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม 4) แบบทดสอบวัดความสามารถ
ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอน
คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัย
แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อเรียกว่า PMKKA Model มี 5 องค์ประกอบ คือ
หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ซึ่ง
กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Presentation : P)
(2) ขั้นการเรียนรู้ร่วมกัน (Mutual learning : M) มี 5 ขั้นตอนย่อย คือ 2.1 ขั้นนำเสนอปัญหา
2.2 ขั้น ค้น ห ารายละ เอียด 2.3 ขั้น เลือก วิธีแก้ปัญ ห า 2.4 ขั้น ลงมือแก้ปัญ ห า แล ะ
2.5 ขั้นตรวจสอบความถูกต้อง (3) ขั้นนำเสนอความรู้ (Knowledge presentation process : K)
มี 2 ขั้นตอนย่อย คือ 3.1 นำเสนอเป็นรายบุคคล และ 3.2 นำเสนอเป็นกลุ่ม (4) ขั้นประเมิน
ความรู้ (Knowledge assessment : K) และ (5) ขั้นนำไปใช้ (Application : A) และพบว่า
รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง เศษส่วน
ของพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 79.44 / 80.81
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า
2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ
0.6713 หมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 67.13
2.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.73 )