ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นายปรีชา อิสสระ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินโดยประเมิน 4 ด้าน มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างในการประเมินประกอบด้วย ผู้บริหารและครู จำนวน 84 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 335 คน และผู้ปกครอง จำนวน 306 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน โดยยกเว้นผู้บริหาร และตัวแทนครู เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีจำนวน 4 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ พร้อมคาถามปลายเปิด (Open-Ended Questionair) เพื่อทราบข้อเสนอแนะทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .93 - .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 สรุปผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา ในแต่ละด้าน พบว่าด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = .36) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ( ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นายปรีชา อิสสระ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินโดยประเมิน 4 ด้าน มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างในการประเมินประกอบด้วย ผู้บริหารและครู จำนวน 84 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 335 คน และผู้ปกครอง จำนวน 306 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน โดยยกเว้นผู้บริหาร และตัวแทนครู เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีจำนวน 4 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ พร้อมคาถามปลายเปิด (Open-Ended Questionair) เพื่อทราบข้อเสนอแนะทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .93 - .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 สรุปผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา ในแต่ละด้าน พบว่าด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( x̄ = 4.57, S.D. = .36) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ( x̄ = 4.55, S.D. = .34) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัดและเขตพื้นที่การศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄= 4.52, S.D. = .35) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น พบว่าด้านความเป็นผู้นำของผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( x̄= 4.59, S.D. = .36) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ( x̄= 4.54, S.D. = .32) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความเพียงพอของงบประมาณ สื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄= 4.46, S.D. = .37) อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄= 4.63 , S.D. = .18) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นักเรียน ( x̄ = 4.54 , S.D. = .15) อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครอง ( x̄ = 4.53 , S.D. = .15) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน ส่วนผู้บริหารและครู ( = 4.44 , S.D. = .28) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น พบว่าการส่งต่อนักเรียนค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( x̄ = 4.54, S.D. = .36) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านการวางระบบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ( x̄ = 4.53, S.D. = .28) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียนหลากหลายเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄= 4.50, S.D. = 0.31) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄= 4.56 , S.D. = .22) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นักเรียน ( x̄ = 4.54 , S.D. = .17) อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครอง ( x̄ = 4.52 , S.D. = .17) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน ส่วนผู้บริหารและครู ( = 4.48 , S.D. = .22) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น พบว่าด้านการมีสุขภาพกายสุขภาพจิต และสุขนิสัยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( x̄= 4.535 , S.D. = .36) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านการรู้จักตนเอง และพึ่งตนเองได้ ( x̄= 4.532, S.D. = .29) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄= 4.520, S.D. = 0.21) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตามความเหมาะสม
2. โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปประยุกต์ใช้ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
3. ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
4. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามบริบทสภาพของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
3. ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป