บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา
(OPCA Model) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา
(OPCA Model) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก 4) พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก 5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้
รูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา (OPCA Model) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา
(Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียน
โคกก่อพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
จำนวน 23 คน และสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา (OPCA Model) เพื่อพัฒนา
ทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมิน
ทักษะการแก้ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา (OPCA Model) ผ่านชุมชนแห่งการ
เรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง โครงสร้าง
และหน้าที่ของพืชดอก มีชื่อว่า Orientation and data collection ; Problem solving skill
development ; Construction ; Application and social enthusiasm Model (OPCA Model)
มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะ
กระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวน
การเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน และรวบรวมข้อมูล (Orientation and data
collection : O) 2) ขั้นพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving skill development : P) 3) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) และ 4) ขั้นนำไปใช้และร่วมสร้างสรรค์สังคม (Application and social enthusiasm : A)
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา (OPCA Model) ผ่าน
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.25/88.14 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบ
การเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา (OPCA Model) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์
ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 97.50 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
5. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการ
แก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก