ชื่อผลงานทางวิชาการ รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ
โรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร) เทศบาลตำบลหัวดง
อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้วิจัย นางรัชดาภรณ์ พรมจุ้ย
ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร) เทศบาลตำบลหัวดง
อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
ในการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร) 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร) 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร) 4) เพื่อประเมินผลผลผลิตและความพึงพอใจที่มีต่อโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร) ประชากร จำนวน 241 คน ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน และนักเรียน จำนวน 158 คน ระยะเวลาการประเมิน ดำเนินการในปีการศึกษา 2564 รูปแบบการประเมินใช้รูปแบบ CIPP Model เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้
มี 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามรายละเอียดสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบประเมินเกี่ยวกับบริบทของโครงการ ฉบับที่ 2 แบบประเมินเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ฉบับที่ 3 แบบประเมินเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการตามโครงการ ฉบับที่ 4 แบบประเมินผลผลิตของโครงการ ฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการโรงเรียนปลอดขยะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ พบว่า มีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง และความสอดคล้องกับ นโยบายหน่วยงานต้นสังกัด นโยบายของโรงเรียน เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ และวางแผนโครงการ โดยภาพรวม มีระดับความสอดคล้องและความเหมาะสม อยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า ด้านความเหมาะสมความรู้ความเข้าใจของ บุคลากร การให้ความสนับสนุนของผู้บริหาร เครือข่าย ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ และงบประมาณ เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นและดำเนินการจัดหา ปัจจัยการดำเนินโครงการให้เพียงพอและเหมาะสมกับการดำเนินโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ พบว่า การประเมินความเหมาะสมของ วิธีการ ขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินโครงการประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติงาน การนิเทศ กำกับ ติดตาม การรายงานผล และการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนาโครงการ เพื่อเก็บข้อมูล
ผลการดำเนินโครงการเพื่อวิเคราะห์หาข้อดี ข้อด้อยในการดำเนินโครงการ และหาแนวทางปรับปรุง พัฒนาเพื่อให้ได้วิธีการปฏิบัติที่ดี โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ พบว่า ด้านพฤติกรรมผู้เรียน ด้านความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยและความสะอาด การดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนเทศบาลหัวดง
(ป.ฟักอังกูร) สามารถลดปริมาณขยะในโรงเรียนได้อย่างน่าพอใจโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
5. ความพึงพอใจของผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน ที่มีต่อโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร)
ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด