จากการเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.66/82.35หมายความว่า นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยทั้งหมดจากการทำกิจกรรมระหว่างเรียนเฉลี่ยร้อยละ 82.35และคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 81.66 แสดงว่า เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 ทั้งนี้เนื่องจากการใช้เอกสารประกอบการเรียนเร้าความสนใจของนักเรียนทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำแบบฝึกหัด สนุกกับบทเรียนทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น เนื้อหามีความทันสมัย มีความยากง่ายเหมาะสม รูปเล่มของเอกสารประกอบการเรียนมีขนาด ที่เหมาะสม มีภาพประกอบน่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Uttra [14] ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียน ออนไลน์เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่งวนซ้ำ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนออนไลน์เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่งวนซ้ำ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.44/83.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และสอดคล้องกับ งานวิจัยของ Tummachart [15] ได้ทำการวิจัยเรื่อง เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และการคิดวิเคราะห์ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกับบทเรียนแบบเว็บเควสท์ เรื่องการเขียน โปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด วิชาการจัดการ เรียนรู้สำหรับนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 83.48/83.30
1.1 เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเอกสารตำราวิเคราะห์สาระการเรียนรู้และขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญแล้วจึงดำเนินการสร้างเอกสารประกอบการเรียน นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเองมีรูปภาพประกอบสวยงามทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นสนุกสนานในการเรียน นักเรียนได้ฝึกฝนกระบวนการคิดในการทำแบบฝึกหัดของตนเอง
1.2 การดำเนินการสอนผู้ศึกษาค้นคว้าได้จัดการเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญคำนึงถึงพื้นฐานของความแตกต่างของผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนเน้นกระบวน การแก้ปัญหาโดยการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและกระบวนการกลุ่มผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองรู้จักการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอดทนเสียสละและช่วยเหลือผู้อื่น
1.3 เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้กำหนดสาระ และประเด็นปัญหาขึ้นตามความสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเพียงให้นักเรียนได้เรียนรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นการฝึกทักษะกระบวนการทัศนคติ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้กระบวนแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วย (กลั่นแก้ว ประชุมแดง, 2544 : 96-97)
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดและมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้
2. ดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5544 หรือร้อยละ 0.5544 แสดงว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความก้าวหน้าและพัฒนาการทาง การเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.44 เนื่องจากเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการ ท้าทายความสามารถของผู้เรียนกระตุ้นให้นักเรียนคิดแก้ปัญหาในสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่โดยคิดเป็นกระบวนการและเป็นขั้นตอน มุ่งเน้นให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน ใช้วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่าง ๆ ร่วมกันทุกคนต่างตระหนักว่าตนเป็นส่วนสำคัญของกลุ่ม ความสำเร็จของตนคือความสำเร็จของกลุ่มประสบความสำเร็จร่วมกัน และได้รับรางวัลร่วมกันได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้วสรุปเป็นความคิดรวบยอด นักเรียนค้นพบความรู้ด้วยตังเอง โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะเท่านั้น หลังจากฝึกผู้เรียนได้ทราบผลทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะศึกษาในเนื้อหาอื่น ๆ ต่อไป และประสบผลสำเร็จในการเรียนจากการศึกษาค้นคว้าแสดงให้เห็นว่าเอกสารประกอบ การเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยครูผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยให้ความช่วยเหลือเท่านั้นจึงทำให้นักเรียนมีความรู้หรือพัฒนาการเรียนรู้เพิ่มขึ้นหลังจากที่เรียนรู้ตามกระบวนการดังกล่าว
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่าเอกสารประกอบ การเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ ความสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น อยากเรียนมีความสนุกสนานและตื่นเต้นซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของสุธารัตน์ อุทัยแสง (2556 : 74) ที่ได้ทำการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ Amazing Grammar ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ Amazing Grammar สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการศึกษาค้นคว้าแสดงให้เห็นว่าเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2013 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา ช่วยให้นักเรียนได้สร้างกระบวนการในการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ที่ได้รับฝึกทักษะการใช้ชีวิต เกิดความความสนใจ สนุกสนาน เพลิดเพลิน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นตามไปด้วยสอดคล้องกับทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เรื่อง กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) ที่กล่าวว่าการฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวรถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวรและในที่สุดอาจลืมได้ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นตามไปด้วย
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.08 แสดงว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้
ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการทางสังคม เช่น ทักษะกระบวนการกลุ่ม ทักษะการเป็นผู้นำ และฝึกความรับผิดชอบ (สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ, 2550 : 170) และเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยที่คละความสามารถ กิจกรรมการเรียนส่วนมากจะให้นักเรียนเป็น ผู้ปฏิบัติค้นคว้าด้วยตนเอง ทุกคนมีการร่วมมือกันทำงานตามที่รับมอบหมายมี การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมถึงการเรียนรู้สภาพอารมณ์การปรับตัว เป็นแนวทางในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามความเหมาะสมแต่ละบุคคลต่อไปจากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
จากผลการศึกษาค้นคว้าแสดงให้เห็นว่าเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นมีความก้าวหน้าและพัฒนาการทางการเรียนเพิ่มขึ้น นักเรียนมีความสามารถในการปัญหาและทักษะกระบวนการทางสังคมได้ดีขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
มีขั้นตอนที่น่าสนใจ ส่งเสริมกระบวนการคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และเกิดความสนุกกับกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายเหมือนกระบวนการสอนแบบเดิม เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเพียงให้นักเรียนได้เรียนรู้ ทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นการฝึกทักษะทัศนคติ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้กระบวนแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วย ซึ่งครูเป็นคนกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจและเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนเท่านั้น ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ ทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด