ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายศุกล ระวิโรจน์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และ(3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุมตัวอยางเปนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) จํานวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัย พบวา
1. กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 85.20/83.65
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7260 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 72.60
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรีอยู่ในระดับมากที่สุด
Title: The Effect of STAD Collaborative Learning in Social Studies, Religion and Culture on Kingdom of Ayutthaya and Thonburi of Grade 5 students
Author: Sukon Rawirot
Year: 2021
Abstract
The purposes of this research were; 1) to develop learning activities based on STAD Collaborative Learning in Social Studies, Religion and Culture on Kingdom of Ayutthaya and Thonburi of Grade 5 students to be effective according to the 80/80 criteria, 2) to study effectiveness index of STAD Collaborative Learning, and
to study the satisfaction of grade 5 students towards learning activities with the STAD cooperative. The samples consisted of 27 grade 5/1 students by purposive sampling, who were studying in the second semester, the academic year 2021 at Tessaban 1 School (Anubannarak). The research instruments comprised lesson plans, achievement test, and satisfaction evaluation form. The collected data were then analyzed for frequency, mean, standard deviation, effectiveness index, and t-test for dependent samples. The findings were as follows:
1) The efficiency of learning activities based on STAD Collaborative Learning, the efficiency value (E1 / E2) was 85.20/83.65.
2) The index of learning effectiveness of students who studied using the Four Noble Truths with graphic organizer technique was 0.7260, indicating that students had a 72.60 percent improvement in their post-study progression.
3) The students satisfaction after the experimentation was found at a highest level.