ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายศุกล ระวิโรจน์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ร่วมกับเทคนิคผังกราฟก (4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ร่วมกับเทคนิคผังกราฟก และ(5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีตอการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 รวมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุมตัวอยางเปนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) จํานวน 21 คน ระยะเวลาที่ใชในการทดลอง 8 สัปดาห เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีคาความเชื่อมั่น 0.92 และแบบวดความพึงพอใจตอการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 รวมกับเทคนิคผังกราฟิก สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระผลการวิจัย พบวา
1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีค่าประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 81.20/81.55
2) ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกมีค่าเท่ากับ 0.5312 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นร้อยละ 53.12
3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
4) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ร่วมกับเทคนิคผังกราฟกมีความคงทนในการเรียนรู้
5) นักเรียนมีความพึงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 รวมกับเทคนิคผังกราฟิก อยู่ในระดับมาก
Title: Developing Learning Activities Based on the Four Noble Truths with Graphic Organizer Techniques upon Learning Achievement and learning Retention on Buddhadhamma in Social Studies, Religion and Culture of Grade 5 students
Author: Sukon Rawirot
Year: 2020
Abstract
The purposes of this research were; 1) to study efficiency of learning activities based on the Four Noble Truths with graphic organizer techniques according to the 80/80 criteria, 2) to study effectiveness index of learning activities based on the Four Noble Truths with graphic organizer techniques, 3) to compare the students learning achievement before and after being taught by the Four Noble Truths with graphic organizer techniques, 4) to study the students learning retention before and after being taught by learning activities based on the Four Noble Truths with graphic organizer techniques, and 5) to study the students satisfaction after being taught by learning activities based on the Four Noble Truths with graphic organizer techniques. The samples consisted of 21 grade 5/2 students who were studying in the first semester, the academic year 2020 at Tessaban 1 School (Anubannarak). The duration of the experiment was 8 weeks, the research instruments comprised 16 lesson plans, an achievement test with the reliability value of 0.92, and satisfaction evaluation form. The collected data were then analyzed for frequency, mean, standard deviation, effectiveness index, and t-test for dependent samples. The findings were as follows:
1) The efficiency of learning activities based on the Four Noble Truths with graphic organizer technique, the efficiency value (E1 / E2) was 81.20/81.55.
2) The index of learning effectiveness of students who studied using the Four Noble Truths with graphic organizer technique was 0.5312, indicating that students had a 53.12 percent improvement in their post-study progression.
3) The posttest mean score of the students learning achievement after being taught by the Four Noble Truths with graphic organizer techniques, the posttest mean score was higher than that of the pretest. It was statistically significant at the .01 level.
4) After being taught by the Four Noble Truths with graphic organizer techniques, the students showed their Learning retention.
5) The students satisfaction after the experimentation was found at a high level.