การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัด โบสถ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี 2) หาแนวทางพัฒนา โครงการ เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดโบสถ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 15 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จํานวน 1 คน ครูผู้สอน จํานวน 40 คน นักเรียนจํานวน 191 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการดําเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียง จํานวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และแจกแจงความถี่
ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดโบสถ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยภาพรวมเหมาะสม เมื่อพิจารณารายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น ได้แก่ ด้านผลผลิต ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมา ได้แก่ ด้านปัจจัย เบื้องต้น ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ํากว่าด้านอื่น ได้แก่ ด้านกระบวนการดําเนินงาน ผลการประเมิน รายด้านทุกด้านเหมาะสม
2. แนวทางพัฒนาการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดโบสถ์ สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี สรุปได้ว่า
2.1 แนวทางพัฒนางบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในการดําเนินงานมีความพอเพียง อันดับที่ 1 ได้แก่ ประสานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการขอรับการสนับสนุน งบประมาณ เพิ่มเติม รองลงมา ได้แก่ บริหารงบประมาณหมุนเวียนรายรับ รายจ่ายให้เกิดความคล่องตัว
2.2 แนวทางพัฒนางบประมาณที่ใช้ประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดตรงตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ อันดับที่ 1 ได้แก่ แต่งตั้งคณะกรรมการดูแลการใช้จ่ายงบประมาณมี การรายงานการใช้จ่ายงบประมาณเป็นระยะตามความเหมาะสม รองลงมา ได้แก่ ประชุมชี้แจง การดําเนินงานตามโครงการทําความเข้าใจผู้เกี่ยวข้องและสร้างความตระหนักในการใช้งบประมาณตาม โครงการ
2.3 แนวทางพัฒนาระบบการเบิกจ่ายงบประมาณมีความสะดวกต่อการดําเนินงาน โครงการ อันดับที่ 1 ได้แก่ ควรให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณมีส่วนร่วมเป็น กรรมการดําเนินงานตามโครงการ รองลงมา ได้แก่ นําเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะการแกไข้ การเบิกจ่ายงบประมาณใช้หน่วยงานต้นสังกัด
2.4 แนวทางพัฒนาการจัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลผลลัพธ์ของโครงการเศรษฐกิจ พอเพียง อันดับที่ 1 ได้แก่ จัดทําปฏิทินการดําเนินงานตามโครงการให้ชัดเจน และดําเนินการตาม ปฏิทินอย่างเคร่งครัด โดยกําหนดให้มีการประชุมก่อนดําเนินงานตามโครงการทุกครั้ง รองลงมา ได้แก่ ฝ่ายบริหารควรเป็นผู้กําหนดให้มีการประชุม และเข้าร่วมประชุมอย่างสมํา่ เสมอ
2.5 แนวทางพัฒนาการประเมินผลของโครงการ โดยใช้เกณฑ์การประเมินโครงการ เศรษฐกิจพอเพียง อันดับที่ 1 ได้แก่ จัดทําปฏิทินการประเมินโครงการ และการปฏิบัติตามปฏิทิน โดยเคร่งครัด รองลงมาได้แก่ แต่งตั้งคณะกรรมการการประเมินผลโครงการโดยใช้เกณฑ์การ ประเมิน โครงการ
2.6 แนวทางพัฒนาการจัดทําข้อมูลสารสนเทศผลการดําเนินงานของโครงการอันดับ ที่ 1 ได้แก่ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบเพื่อทําข้อมูลสารสนเทศผลการดําเนินงานโครงการรองลงมา ได้แก่ กําหนดระยะเวลาการจัดทําข้อมูลสารสนเทศให้ชัดเจน