การประเมินโครงการเรื่อง: การประเมินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model
ผู้ประเมิน: อ่อนจันทร์ นุชบูรณ์
สถานศึกษา: โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
ปีที่ประเมิน: 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ การประเมิน CIPPIEST Model มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สาระสำคัญ ข้อดี และข้อจำกัด ของรูปแบบการประเมินโครงการที่เหมาะสมกับการประเมินโครงการ การป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 2) เพื่อประเมินด้านบริบท (context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (input evaluation) ด้านกระบวนการ (process evaluation) ด้านผลผลิต (product evaluation) ด้านผลกระทบ (impact evaluation) ด้านประสิทธิผล (effectiveness evaluation) ด้านความยั่งยืน (sustainability evaluation) และ ด้านการถ่ายโยงความรู้ (transportability evaluation) ของโครงการการป้องกันปัญหา ยาเสพติดในสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สาระสำคัญ ข้อดี และข้อจำกัด ของรูปแบบการประเมินโครงการที่เหมาะสมกับการประเมินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการประเมินโครงการรูปแบบ ต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์สาระสำคัญ ข้อดี และข้อจำกัด ของรูปแบบการประเมินโครงการที่เหมาะสมกับการประเมินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ผู้ประเมินเลือกใช้รูปแบบการประเมินของ CIPPIEST Model เพราะโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลาย ๆ ฝ่าย ในการป้องกันปัญหาดังกล่าว การประเมินโดยใช้รูปแบบของ CIPPIEST Model เป็นการประเมินที่มีส่วนร่วมจากหลาย ๆ ฝ่าย จึงเป็นรูปแบบการประเมินที่เหมาะสม ครอบคลุมบริบทในด้านต่าง ๆ มีการประเมินผลลัพธ์ที่ชัดเจน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมประเมินติดตามอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 8 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท (context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (input evaluation) ด้านกระบวนการ (process evaluation) ด้านผลผลิต (product evaluation) ด้านผลกระทบ (impact evaluation) ด้านประสิทธิผล (effectiveness evaluation) ด้านความยั่งยืน (sustainability evaluation) และด้านการถ่ายโยงความรู้ (transportability evaluation)
ขั้นตอนที่ 2 ผลการประเมินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model
ผลการประเมินระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา
1. ผลการประเมินด้านบริบท (context evaluation) ของโครงการ โดยการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา (รองผู้อำนวยการสถานศึกษา) และครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน และรายด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ มีความสอดคล้องในระดับมาก เมื่อจำแนกตามสถานภาพ พบว่า การประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา (รองผู้อำนวยการสถานศึกษา) และครูผู้สอน โดยรวมทุกด้านมีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ส่วนการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน มีความสอดคล้อง ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (inputs evaluation: I) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา (รองผู้อำนวยการสถานศึกษา) และครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน และรายด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ มีความเพียงพอในภาพรวมระดับมาก เมื่อจำแนก ตามสถานภาพ พบว่า การประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา (รองผู้อำนวยการสถานศึกษา) และครูผู้สอน โดยรวมทุกด้านมีความสอดคล้องในระดับมาก ส่วนการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน มีความเพียงพอในระดับมาก
ผลการประเมินระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (process evaluation: P) ของโครงการ การป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา (รองผู้อำนวยการสถานศึกษา) และครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยรวมทุกด้าน และรายด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ มีการปฏิบัติในภาพรวมระดับมากที่สุด เมื่อจำแนก ตามสถานภาพ พบว่า การประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา (รองผู้อำนวยการสถานศึกษา) และครูผู้สอน โดยรวมทุกด้านมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ส่วนการประเมินของผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมทุกด้าน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด และการประเมินของนักเรียน โดยรวมทุกด้าน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินระยะที่ 3 หลังดำเนินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (product evaluation: P) ของวัตถุประสงค์โครงการ การป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 3 ข้อ ดังนี้
4.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียน
ผลคะแนนและค่าเฉลี่ยร้อยละของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 212 โดยรวมผลการทดสอบก่อนเรียน ได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 65.91 ของคะแนนเต็ม หลังเรียนได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.88 ของคะแนนเต็ม เมื่อประเมินเป็นรายชั้น พบว่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบหลังเรียนสูงสุด ได้คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 85.58 ของคะแนนเต็ม รองลงมาคือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลการทดสอบหลังเรียน ได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.53 ของคะแนนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลการทดสอบ หลังเรียน ได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.80 ของคะแนนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผล การทดสอบหลังเรียน ได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.50 ของคะแนนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการทดสอบหลังเรียน ได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.2 ของคะแนนเต็ม และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลการทดสอบหลังเรียน ได้คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.13 ของคะแนนเต็ม
4.2 พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียน
ผลการสังเกตพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียน สำหรับครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โดยการประเมินของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน หลังการดำเนินโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยการประเมินของครูผู้สอน พบว่า โดยรวมนักเรียนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ มีระดับพฤติกรรมมีการปฏิบัติเป็นประจำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด ส่วนการประเมินของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยรวมนักเรียนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกรายการ มีระดับพฤติกรรมมีการปฏิบัติเป็นประจำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมดและการประเมินของนักเรียน พบว่า โดยรวมนักเรียนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเอง จากยาเสพติด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ มีระดับพฤติกรรมมีการปฏิบัติเป็นประจำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด
4.3 เจตคติต่อการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักเรียน
ผลการวัดเจตคติต่อการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักเรียน โดยนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 ในภาพรวมทุกชั้น มีเจตคติต่อการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักเรียนในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง เมื่อจำแนกตามระดับชั้นเรียน พบว่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีเจตคติ ต่อการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักเรียน ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง รองลงมา คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติต่อการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักเรียน ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีเจตคติต่อการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักเรียนในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ตามลำดับ
5. ผลการประเมินด้านผลกระทบ (impact evaluation: I) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยการประเมินของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน และรายด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน คือมีผลกระทบในภาพรวมระดับมาก เมื่อจำแนกตามสถานภาพ พบว่า การประเมินของครูผู้สอน โดยรวมทุกด้านมีผลกระทบในระดับมาก ส่วนการประเมินของผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมทุกด้าน มีผลกระทบในภาพรวมระดับมากที่สุด และการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน มีผลกระทบในภาพรวมระดับมาก
6. ผลการประเมินโครงการด้านประสิทธิผล (effectiveness evaluation: E) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยการประเมินของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน และรายด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกตามสถานภาพ พบว่า การประเมินของครูผู้สอน โดยรวมทุกด้าน มีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนการประเมินของผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมทุกด้าน มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด และการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด
7. ผลการประเมินด้านความยั่งยืน (sustainability evaluation: S) ของโครงการ การป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยการประเมินของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน และรายด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกตามสถานภาพ พบว่า การประเมินของครูผู้สอน โดยรวมทุกด้าน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ส่วนการประเมินของผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมทุกด้าน มีการปฏิบัติในภาพรวมระดับมากที่สุด และการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน มีการปฏิบัติในภาพรวมระดับมาก
8. ผลการประเมินด้านถ่ายโยงความรู้ (transportability evaluation) ของโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยการประเมินของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน และรายด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกตามสถานภาพ พบว่า การประเมินของครูผู้สอน โดยรวมทุกด้าน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ส่วนการประเมินของผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมทุกด้าน มีการปฏิบัติในภาพรวมระดับมากที่สุด และการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน มีการปฏิบัติในภาพรวมระดับมากที่สุด