บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมของโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ครู จำนวน 86 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครอง จำนวน 327 คน และนักเรียน จำนวน 327 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็น มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.835 - 0.908 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากร จำนวน 4 ด้าน และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียน ใช้บันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมของโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X-bar=3.84, S.D.=.69) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-bar=3.79,S.D.=.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมของโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ตามความคิดเห็นของครูโดยรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
(X-bar=3.70,S.D.=.63) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมของโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X-bar= 3.78, S.D.= .71) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-bar=3.74,S.D.=.71) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครองนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (X-bar=3.66,S.D.=.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมของโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
4.1 จำนวน/ปริมาณของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
4.1.1 ด้านบุคคล โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านบุคคล ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ครู ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน รวมถึงบุคคลฝ่ายต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือ และสนับสนุนการจัดการศึกษาโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ อย่างต่อเนื่อง โดยปีการศึกษา 2564 ได้รับการสนับสนุนจำนวน 16รายการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.2 ด้านงบประมาณ โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านงบประมาณ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยปีการศึกษา 2564 ได้รับสนับสนุน จำนวน 117 รายการ คิดเป็นเงิน 1,213,000 บาท (หนึ่งล้านสองแสนหนึ่งหมื่นสามพันบาทถ้วน) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.3 ด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จากผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยปีการศึกษา 2564 ได้รับการสนับสนุน จำนวน 9 รายการ คิดเป็นมูลค่า 1,884,370 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนแปดหมื่นสี่พันสามร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.4 ด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ สามารถระดมทรัพยากรด้านการบริหารจัดการโดยการเข้ามามีส่วนร่วมของบุคคล องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ในการบริหารจัดการสถานศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ของโรงเรียนปีการศึกษา 2564 อย่างต่อเนื่อง ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมของโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
(X-bar=3.65,S.D.=.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
(X-bar=3.60, S.D.=.59) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
(X-bar=3.56,S.D.=.55) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเลิศ ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมของโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนโดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X-bar=3.67,S.D.=.66) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ นักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-bar=3.60,S.D.=.61) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัดส่วนครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (X-bar=3.55,S.D.= .56) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนตามความเหมาะสม
1.2 การระดมทรัพยากรเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน และร่วมชื่นชม
1.3 ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของการระดมทรัพยากรเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุน ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
1.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการระดมทรัพยากร เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลสำเร็จที่เกิดกับคุณภาพผู้เรียน และคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมิน และวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ให้มีการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับการลงทุนทางการศึกษาของรัฐและเกิดความเสมอภาค
2.2 ให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นของทรัพยากรทางการศึกษาเป็นรายด้านเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียน
2.3 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป