การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการดำเนินงานการนิเทศตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการนิเทศตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3 ให้มีการพัฒนาตามแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มสูงขึ้น 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการนิเทศตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของโรงเรียนที่มีต่อการนิเทศตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนที่ปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการการดำเนินงานการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร 2) คู่มือการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร 3) แบบประเมินคุณภาพการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศที่มีต่อการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t test) ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1. สภาพปัญหาและความต้องการการดำเนินงานการนิเทศตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย และเพศหญิงมีจำนวนเท่ากัน คือ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41 50 ปี มากที่สุดจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 42.85 รองลงมาคือ มีอายุระหว่าง 51 60 ปี จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 39.29 และมีอายุระหว่าง 31 40 ปี น้อยที่สุด จำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 17.86 ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนมีหน้าที่ที่ปฏิบัติ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานระหว่าง 11 15 ปี และ 21 25 ปี มากที่สุด จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57 รองลงมาคือ มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานระหว่าง 25 ปีขึ้นไป จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 25.00 และมีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานระหว่าง 15 20 ปี น้อยที่สุด จำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 17.86 และผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนมีวุฒิปริญญาโท จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สภาพปัญหาและความต้องการการดำเนินงานการนิเทศตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเท่ากับ X ̅ = 4.57 S.D. = 0.50 รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเท่ากับ X ̅ = 4.38 S.D. = 0.49 และด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ X ̅ = 4.29 S.D. = 0.44 เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนมีการวางแผนในการพัฒนาบุคลากรสู่การเรียนรู้ในโรงเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และมีคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในมากที่สุด มีค่าเท่ากับ X ̅ = 4.68 S.D. = 0.48 รองลงมาได้แก่ โรงเรียนมีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบโดยสอดแทรกความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเท่ากับ X ̅ = 4.64 S.D. = 0.49 และโรงเรียนมีการจัดงบประมาณและวัสดุเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ X ̅ = 4.11 S.D. = 0.32
2. ผลสร้างและพัฒนาคู่มือการนิเทศตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 คือ ได้คู่มือการนิเทศที่มีองค์ประกอบดังนี้
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ความรู้สำหรับผู้นิเทศ
บทที่ 3 แนวการนิเทศตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ประกอบด้วยขั้นตอนการนิเทศ ดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างความเข้าใจและศรัทธา
ขั้นที่ 2 มีเมตตาถามปัญหาและความต้องการ
ขั้นที่ 3 ชวนหาแนวทางการดำเนินงานอย่างตั้งใจ
ขั้นที่ 4 ร่วมใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนผล
ขั้นที่ 5 ประเมินตนประเมินงานอย่างเปิดใจ
บทที่ 4 การวัดและประเมินผลการนิเทศ
3. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การนิเทศตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร มีผลการประเมินทักษะในด้านการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาก่อนและหลังได้รับการนิเทศการศึกษา มีดังนี้
3.1 การวิเคราะห์คุณภาพในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร มีผลการประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาก่อนได้รับการนิเทศการศึกษา ในแต่ละด้านโดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง เน้นการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีปัญหามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ X ̅ = 1.55 S.D. = 0.50 รองลงมาได้แก่ เน้นการประเมินผลตามสภาพจริง มีค่าเฉลี่ย X ̅ = 1.60 S.D. = 0.50 และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยมีองค์ประกอบครบถ้วนสอดคล้องกัน มีปัญหาน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ X ̅ = 1.95 S.D. = 0.22
3.2 การวิเคราะห์คุณภาพในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร มีผลการประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาหลังได้รับการนิเทศการศึกษา ในแต่ละด้านโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า การจัดทำแผน การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีค่ามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ X ̅ = 4.93 S.D. = 0.27 รองลงมาได้แก่ การจัดทำเครื่องมือประเมินผลได้ครอบคลุมจุดประสงค์ในแต่ละแผน การนำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ X ̅ = 4.90 S.D. = 0.30 และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง เน้นการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีค่าน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ X ̅ = 4.60 S.D. = 0.50 และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 28 คน มีผู้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสอดคล้องกันจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 25.00 โดยมีข้อเสนอแนะว่า ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนสื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาที่มีการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความทันสมัย เพียงพอ และมีความหลากหลายในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
3.3 ผลการเปรียบเทียบคุณภาพในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร มีผลการประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาหลังได้รับการนิเทศการศึกษา ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. การวิเคราะห์ความพึงพอใจของโรงเรียนที่มีต่อการนิเทศตามแนวคิดการสอนแนะ (Coaching) ร่วมกับแนวคิดกัลยาณมิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ในแต่ละด้านโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ X ̅ = 4.80 S.D. = 0.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เนื้อหาของการนิเทศการศึกษาให้ความรู้เพิ่มขึ้น และผลที่ได้รับจากการนิเทศการศึกษาสามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ได้ มีค่ามากที่สุดมี ค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ X ̅ = 4.90 S.D. = 0.30 รองลงมาได้แก่ รูปแบบการนิเทศการศึกษานำไปใช้ได้อย่างประหยัดและคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ X ̅ = 4.88 S.D. = 0.36 และเนื้อหาของรูปแบบการนิเทศการศึกษาเข้าใจได้ง่าย มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ X ̅ = 4.67 S.D. = 0.48