ผู้วิจัย นางอิสรีย์ สิรินนท์ธีร์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ ๕
สังกัดกองการศึกษาเทศบาลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่ศึกษา 2562
____________________________________________________________________
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 (2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพ ของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสมารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ ๕ (5) เพื่อนำเสนอ ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสมารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 โรงเรียนเทศบาล บ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ ๕ ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาซึ่งแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 69 คน และครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ขั้นตอนที่2 การสร้างและหาคุณภาพรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ ๕ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียน ที่1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คนโดยการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling) ขั้นตอนที่ 4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขั้นตอนที่ 5 การนำเสนอผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ ๕ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมการคำนวณสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) ค่าประสิทธิภาพ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการพัฒนาสรุปได้ดังนี้
1. ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทาง ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบร่างรูปแบบการเรียนรู้และ การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้มาจากการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แนวคิด ทฤษฎี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และจากการสอบถามนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับ สภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.49 ) ส่วนความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ=4.51)และผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการและแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูวิทยาศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เป็นการจัดการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และสอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยการจัดการเรียนรู้จะเน้นให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ได้ลงมือปฏิบัติและสรุปความรู้ด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสนใจ กระตือรือร้นและมีความสุขในการเรียนแนวทางหรือรูปแบบในการจัดการเรียนรู้ เริ่มจากขั้นนำโดยการกำหนดปัญหา กำหนดสถานการณ์โดยให้นักเรียนค้นหาข้อมูล ศึกษาความรู้และแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม โดยทุกคนในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นหรือได้แสดงออก จากนั้นร่วมกันสรุปองค์ความรู้ โดยการนำเสนอผลงานการอภิปรายในชั้นเรียน และสุดท้ายเป็นการนำความรู้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และจากการสังเคราะห์รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นของการเตรียมการ (Preparation Step) ขั้นที่ 2 ขั้นการสร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นที่3 ขั้นต้องการเรียน (Want) ขั้นที่ 4 ขั้นตีความและแปลความหมาย (Interpretation Step) ขั้นที่5. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) ขั้นที่ 6 ขั้นการประเมินผล ( Evaluation)
2. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53,S.D.=0.62) และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่นำไปใช้จริง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.77 /83.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( =4.93,SD. = 0.64)
5. ผลการประเมินเพื่อรับรองรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยรวมเห็นด้วยกับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค PEWIEE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.63,SD.=0.49)