คำสำคัญ : รายงานการประเมินโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ผู้รายงาน : ต่อตระกูล ทองมูล ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีวัตถุประสงค์ในการประเมิน คือ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ที่ใช้ในการดำเนินโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ มีจำนวน 404 คน ได้แก่ 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ปีการศึกษา 2564 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 15 คน 2) คณะทำงานโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน 3) ครูผู้สอนโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ ปีการศึกษา 2564 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จำนวน 63 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง 4) นักเรียนโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2564 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้ชั้นเรียนที่เปิดสอนเป็นตัวแบ่งชั้น จำนวน 306 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร และความต้องการจำเป็นของโรงเรียน 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นด้านความเหมาะสมและพอเพียงเกี่ยวกับงบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการตามโครงการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์และวางแผน การจัดทบทวนหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน การประเมินผลและสรุป การปรับปรุงและพัฒนา 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอน ต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่าโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.73)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่าโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.65)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่าโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.62)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการนิเทศการศึกษาโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study Professional Learning Community: LS-PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.68) และ ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.71)