ชื่อผลงาน ต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำพระบรมราโชบายฯ สู่วิถีสุจริตอย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบ ARRS MODEL ชื่อเจ้าของผลงาน นางสาวศศิธร ธนูปกรณ์
1. ความสำคัญของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาเพื่อมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ให้ผู้เกี่ยวข้องได้น้อมนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผล ซึ่งประกอบด้วย แนวพระบรมราโชบาย 4 ด้าน คือ 1) การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง-มีคุณธรรม 3) การมีงานทำ-มีอาชีพ และ 4) การเป็นพลเมืองดี ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการของการ จัดการศึกษาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ว่าการจัดการศึกษา ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนา คนไทยให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบาย ให้หน่วยงานทางการศึกษาในสังกัดได้นำไปเป็นหลักในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ อีกทั้ง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐแปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยให้ยึดกรอบยุทธศาสตร์หลักที่ใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 2580) และแผนแม่บทบูรณาการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 2579) เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายสำคัญ อันจะส่งผลให้การทุจริตในการปฏิบัติ ราชการของทุกส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการลดน้อยลง และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 -2564) ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญในกระบวนการปรับสภาพสังคมให้เกิดภาวะที่ ไม่ทนต่อการทุจริต โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกระดับช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัยเพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริตยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เป็นการดำเนินการผ่านสถาบันหรือกลุ่ม ตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาทางสังคมให้มีความเป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนรวมและเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบและได้กาหนดกลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ กล่าวคือ กลยุทธ์ที่ 1 ปรับฐานความคิดทุกช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัย ให้สามารถแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต กลยุทธ์ที่ 3 ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต และกลยุทธ์ที่ 4 เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน(Community) และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริต โดยเริ่มปลูกฝังผู้เรียนตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต ให้สถานศึกษาทุกแห่ง นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังและสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตให้แก่ผู้เรียน สร้างความตระหนักให้ผู้เรียน ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีจิตพอเพียง ต้านทุจริต ละอาย และเกรงกลัวที่จะไม่ทุจริตและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ ซึ่งโรงเรียนมีหน้าที่จัดการศึกษาให้กับผู้เรียน ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจหลักในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาการ จัดการศึกษาให้ผู้เรียนเก่งดีมีสุข ภายใต้บริบท ปรัชญา วิสัยทัศน์และพันธกิจในการขับเคลื่อนแผนการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน โดยมุ่งพัฒนาทั้งระบบ ทุกด้านโดยมีความมุ่งหวังให้ผู้บริหาร คณะครู ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม และเพื่อปลูกฝังและสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตให้แก่ผู้เรียนสร้างความตระหนักให้ผู้เรียน ยึดถือประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีจิตพอเพียง ต้านทุจริต ละอาย เกรงกลัวที่จะไม่ทุจริตและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ
โรงเรียนอนุบาลรัฐราษฎร์รังสรรค์ตระหนักถึงเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว จึงได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทั้ง 4 ด้าน มาสู่การปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การจัดการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนสู่วิถีสุจริตอย่างยั่งยืน ตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนา คนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่าง มีความสุข ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาผู้เรียนไว้ว่า สร้างคุณภาพผู้เรียน สู่สังคมอนาคตอย่างยั่งยืน อีกทั้งแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561-2580) เป้าหมายหลัก เพื่อให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติ มิชอบ ผ่านการพัฒนาคนและการพัฒนาระบบเพื่อป้องกันการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลรัฐราษฎร์รังสรรค์จึงพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ภายใต้ชื่อผลงาน ต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำพระบรมราโชบายฯ สู่วิถีสุจริตอย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบ ARRS MODEL ขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สร้างคนเก่ง คนดี มีคุณภาพ ให้กับสังคม และประเทศชาติสืบไป
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อน้อมนำพระบรมราชโชบายด้านการศึกษา มาสู่การปฏิบัติ โดยพัฒนานวัตกรรม ต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำพระบรมราโชบายฯ สู่วิถีสุจริตอย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบ ARRS MODEL ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สร้างคนเก่ง คนดี มีคุณภาพ ให้กับสังคม และประเทศชาติสืบไป
2.1.2 เพื่อปลูกฝัง ป้องกัน สร้างเครือข่ายการทุจริต โดยเน้นให้ผู้เรียนตระหนัก รู้ เข้าใจ และคิดอย่างมีเหตุผลคุณธรรม ซึมซับคุณค่าความดี สร้างความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี ภูมิใจในการทำความดี รังเกียจ คนโกง และพร้อมที่จะเป็นคนดี มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ
2.1.3 เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ประการตามหลักการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โรงเรียนสุจริต) โดยผู้เรียนจะมีทั้งความเป็นไทย และมีความกล้าหาญทางจริยธรรมควบคู่กันไปทั้ง 5 ด้านคือ มีทักษะกระบวนการคิดที่ดี มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และ เป็นผู้มีจิตสาธารณะ
2.2 เป้าหมาย
2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
2.2.1.1 นักเรียนโรงเรียนอนุบาลรัฐราษฎร์รังสรรค์ ร้อยละ 100 ได้รับการปลูกฝัง
ฝึกฝนผ่านนวัตกรรม ต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำพระบรมราโชบายฯ สู่วิถีสุจริตอย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบ ARRS MODEL เพื่อให้เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ประการตามหลักการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โรงเรียนสุจริต) โดยนักเรียน จะมีทั้งความเป็นไทย และมีความกล้าหาญทางจริยธรรมควบคู่กันไปทั้ง 5 ด้านคือ มีทักษะกระบวนการคิดที่ดี มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และเป็นผู้มีจิตสาธารณะ
2.2.1.2 โรงเรียนมีนวัตกรรม ต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำพระบรมราโชบายฯ สู่วิถีสุจริตอย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบ ARRS MODEL อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนโรงเรียนอนุบาลรัฐราษฎร์รังสรรค์ เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ประการ
ตามหลักการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โรงเรียนสุจริต) ทั้ง 5 ด้าน คือ
มีทักษะกระบวนการคิดที่ดี มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และเป็นผู้มีจิตสาธารณะ
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
การพัฒนารูปแบบนวัตกรรม ต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำพระบรมราโชบายฯ สู่วิถีสุจริตอย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบ ARRS MODELสู่สถานศึกษา โดยโรงเรียนมีการดำเนินการตามหลักการพัฒนาออกแบบนวัตกรรม โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ในการออกแบบและพัฒนาสถานศึกษา มีการบูรณาการหลักสูตรสถานศึกษา แผนปฏิบัติการของโรงเรียนรวมทั้งโครงการกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกัน รวมทั้งมีการประชุม คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนภาคีเครือข่าย เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา จากนั้นนำข้อมูลมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาออกแบบนวัตกรรมตามหลักการ แนวคิดการออกแบบนวัตกรรม ลงสู่การนำนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อน สถานศึกษาที่น้อมนำพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน ศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการออกแบบนวัตกรรม ของ ทิศนา แขมมณี, ธำรง บัวศรี และเกริก ท่วมกลาง และคณะ เพื่อนำมาแนวทาง และดำเนินการออกแบบนวัตกรรมของโรงเรียนตามหลักแนวคิดทฤษฎี โดยเริ่มจากการ ศึกษาความต้องการของโรงเรียน ชุมชน วิเคราะห์หลักสูตร ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงสร้างการออกแบบนวัตกรรม ต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำพระบรมราโชบายฯ สู่วิถีสุจริตอย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบ ARRS MODEL โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรมอันพึงประสงค์ ควบคู่คุณธรรมจริยธรรมโดยใช้ รูปแบบ ARRS MODEL ในการดำเนินงาน ซึ่งมีขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนาโดยใช้รูปแบบกระบวนการ PDCA ในการดำเนินงานมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ในการออกแบบนวัตกรรม ได้จัดทำเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเป็นลำดับขั้น ดังต่อไปนี้
3.1 ขั้น Plan โดยนำโมเดลขั้น A : Analysis Context หมายถึง การวิเคราะห์บริบท ในการดำเนินงานทุกงานจำเป็นต้องมีการศึกษา วิเคราะห์บริบท สภาพแวดล้อม โดยการ SWOT Analysis เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และภาคีเครือข่าย แล้วนำไปวางแผนในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของโรงเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้
3.2 ขั้น Do โดยนำโมเดลขั้น R : Raise Awareness หมายถึง การสร้างความตระหนักร่วมกันในการทำงาน โดยการประชุมสร้างความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการพัฒนาขับเคลื่อนการดำเนินงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผนงาน/โครงการ เพื่อการทำงานเป็นทีมและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
R : Run Step หมายถึง การดำเนินการตามขั้นตอนที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้แผนงาน/โครงการเกิดความสำเร็จ 4 ขั้นตอน ดังนี้
Step 1 : Achievement หมายถึง การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการดำเนินงานตามแผน/กรอบงานที่วางไว้ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมถึงการดำเนินงานด้านต่าง ๆ
Step 2 : Relationship หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมงาน มีความเข้าใจ เข้าถึง และร่วมพัฒนา โดยเป็นการสร้างทีมในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของงาน
Step 3 : Resolution หมายถึง การร่วมกันแก้ปัญหา โดยเมื่อเกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน/กิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ จะมีการประชุมผู้บริหาร คณะครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ แก้ปัญหา ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันในการพัฒนาไปสู่ความสำเร็จ
Step 4 : Strategic หมายถึง การพัฒนาอย่างมีกลยุทธ์ โดยการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมและงานต่าง ๆ ของโรงเรียนต้องทำอย่างมีกลยุทธ์ ตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยกำหนดทิศทางในการพัฒนา และสร้างความมั่นใจ ในการดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้
3.3 ขั้น Check โดยนำโมเดลขั้น Quality of Anubanratratrangsan school หมายถึง
คุณภาพของโรงเรียนอนุบาลรัฐราษฎร์รังสรรค์ โดยเกิดจาด คุณภาพผู้เรียน คุณภาพครู คุณภาพผู้บริหาร สู่คุณภาพของโรงเรียนอนุบาลรัฐราษฎร์รังสรรค์ ซึ่งหมายรวมถึงการพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็น คนดี คนเก่ง และ มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม ตามคุณธรรม สพฐ. และคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน ผู้เรียนมีคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ 5 ประการตามหลักการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โรงเรียนสุจริต) ทั้ง 5 ด้าน คือ มีทักษะกระบวนการคิดที่ดี มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และเป็น
ผู้มีจิตสาธารณะ ผู้บริหารและคณะครู ดำเนินงานด้วยหลักธรรมาภิบาล คือใช้หลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส
ความมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่า
3.4 ขั้น Action โดยนำโมเดลขั้น S : Sustainable หมายถึง การพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนในการพัฒนาและบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว โรงเรียนยังคงต้องรักษาต่อยอด ความสำเร็จเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืนหากกระบวนการใดประสบความสำเร็จแล้ว ก็นำกระบวนการนั้นมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปหากกระบวนการใดไม่ประสบความสำเร็จให้ย้อนกลับไปเริ่มต้นที่ขั้น A : Analysis Context ในการวิเคราะห์บริบท ในการดำเนินงานทุกงานจำเป็นต้องมีการศึกษา วิเคราะห์บริบท เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการในการดำเนินงานที่เหมาะสม เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป
4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้
ผลการปฏิบัติงานด้วยด้วยวิถีปฏิบัติการบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้นวัตกรรม ต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำพระบรมราโชบายฯ สู่วิถีสุจริตอย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบ ARRS MODEL เพื่อปลูกฝัง ป้องกัน สร้างเครือข่ายการทุจริต โดยเน้นให้ผู้เรียนตระหนัก รู้ เข้าใจ และคิดอย่างมีเหตุผลคุณธรรม ซึมซับคุณค่าความดี สร้างความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี ภูมิใจในการทำความดี รังเกียจคนโกงและพร้อมที่จะเป็นคนดี มีความกล้าหาญ ทางจริยธรรมและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ เมื่อดำเนินกิจกรรมด้วยการบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้รูปแบบนวัตกรรม ARRS MODEL อย่างต่อเนื่องตามกระบวนการขั้นตอนการดำเนินงานแล้ว ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ประการตามหลักการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โรงเรียนสุจริต) โดยผู้เรียนจะมีทั้งความเป็นไทย และมีความกล้าหาญทางจริยธรรมควบคู่กันไปทั้ง 5 ด้านคือ มีทักษะกระบวนการคิดที่ดี มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และ มีจิตสาธารณะ สามารถขยายผลการปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ในโอกาสต่อไป
4.1.1 ผู้เรียนมีกระบวนการคิด สามารถคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ รู้จักการปฏิเสธ เพื่อป้องกันตนเอง และครอบครัวจากการทุจริต
4.1.2 ผู้เรียนมีวินัยต่อตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่นและส่วนรวม มีความรับผิดชอบรู้จักหน้าที่ของตนเอง
ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อตกลง ของโรงเรียนและสังคม
4.1.3 ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต ต่อตนเองและสังคม
4.1.4 ผู้เรียนใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีความมัธยัสถ์ รู้จักออม ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดี
4.1.5 มีผู้มีจิตสาธารณะ ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม พร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อรักษา
ผลประโยชน์ส่วนรวม และพัฒนาสังคมให้สงบสุข