บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนชุมชนบ้านปะโคสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน
ด้านบริบท เป็นการประเมินความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้า เป็นการประเมินเกี่ยวกับความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการ เป็นการประเมินเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัยตามมาตรการ 3 ป คือ การป้องกัน การปลูกฝัง การปราบปราม และด้านผลผลิต เป็นการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ รูปแบบที่ใช้ในการประเมิน CIPP Model ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วยครู จำนวน 22 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 217 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 215 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาค่าความตรงของเครื่องมือ (Validity) ใช้สูตร IOC หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการหาค่าความเชื่อมั่นแบบ Alpha Co-efficient ตามสูตรของครอนบาค (Cronbach) โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป ผลการประเมินได้ ดังนี้
ผลการประเมิน
การประเมินโครงการการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนชุมชนบ้านปะโค สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ภาพรวมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบริบท ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลผลิต ผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัดสรุป ได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ผลการดำเนินโครงการ ด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ซึ่งตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ และตัวชี้วัดความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก คือ ตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาผลการประเมินตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ ความพร้อมและทรัพยากรในการดำเนินโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผลการดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดด้านการป้องกัน และตัวชี้วัดด้านการปลูกฝัง ตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 1 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดด้านการปราบปราม
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินโครงการ ด้านผลผลิต มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาผลการประเมินตัวชี้วัดแล้ว พบว่า ผ่านทุกตัวชี้วัด โดยทุกตัวชี้วัด ที่ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก คือ ตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัย ตามความคิดเห็นของครู ตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัย ตามความคิดเห็นของนักเรียน และตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัย ตามความคิดเห็นของของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน
5. ผลการประเมินโครงการภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนชุมชนบ้านปะโค สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยประเด็นการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ประเด็น คือ ด้านบริบท และด้านกระบวนการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 2 ประเด็น คือ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลผลิต