การนำนวัตกรรมการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ รูปแบบการพัฒนาตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะระดับปฐมวัย โดยบูรณาการเทคโนโลยีและทักษะชีวิต โรงเรียนบ้านเขาถ้ำ จังหวัดราชบุรี ไปใช้แก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ตรงตามเป้าหมายการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นสุข โดยการปรับสภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มพฤติกรรมสุขภาพ จัดโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ให้โรงเรียน สภาพแวดล้อมครอบครัว และชุมชนเป็นพื้นที่ปลอดภัย และส่งเสริมสุขภาวะทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกยุคดิจิตอล ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าว สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาได้ตรงจุดและตรงกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียนบ้านเขาถ้ำ ๑๐๐% สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ได้อย่างครบถ้วน ผ่านการประเมินผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน ๒๐ ตัวชี้วัด และสามารถเผยแพร่นวัตกรรมจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะที่พัฒนาขึ้น ให้แก่ทุกโรงเรียนที่สนใจไปปรับใช้ตามสภาพบริบทที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้ทุกโรงเรียน
ประโยชน์ของนวัตกรรมต่อบุคคล
๑. ประโยชน์ต่อผู้เรียน
นักเรียนมีความสุข มีความกระตือรือร้น สนใจเรียนเพิ่มมากขึ้น ร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน มีพฤติกรรมทางสุขภาวะดีขึ้น ผ่านเกณฑ์การประเมินของผู้เรียนได้แก่
*ผู้เรียนมีสุขภาพดี
*ผู้เรียนมีทักษะการปฏิเสธให้ตนเองพ้นจากอันตราย
*ผู้เรียนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
*ผู้เรียนมีวินัย รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ
*ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
*ผู้เรียนกระตือรือร้น ความสนใจในการเรียน
ดังปรากฏในเล่มรายงาน หน้า ๒๒ ๒๖
๒. ประโยชน์ต่อผู้สอน
ครูมีความสามารถในการนำนวัตกรรมไปใช้แก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้ มีความกระตือรือร้นในการจัดการเรียนการสอน มีการเตรียมความพร้อมของสื่ออุปกรณ์ สนใจ เอาใจใส่นักเรียนขณะทำกิจกรรม มีการบันทึกหลังสอน เพื่อนำปัญหาที่พบมาทำวิจัยในชั้นเรียน ผ่านวง PLC และสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่มีผลการเรียนไม่ดี ฯลฯ
๓. นวัตกรรมส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษา กระบวนการบริหารจัดการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาและกระบวนการบริหารจัดการศึกษาอย่างเป็นสุข ได้แก่
*โรงเรียนมีการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้เรียน
*โรงเรียนมีการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีสุขภาวะ โดยสอดคล้องกับบริบทภายในโรงเรียนและท้องถิ่น