การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E)
ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระทองคำวิทยา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
นางสาวปาณิสรา เณรทอง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E) ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระทองคำวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนและหลังการจัด การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะ หาความรู้ (7E) เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระทองคำวิทยา ภาคเรียนที่ 2/2564 จำนวน 36 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E) จำนวน 4 แผน 12 ชั่วโมง แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์แบบปรนัย 4 ตัวเลือก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E) รูปแบบในการศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบการทดลองกับนักเรียนกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One-group, Pre-test, Post-test Design) เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยทำการทดสอบก่อนเรียนกับกลุ่มเป้าหมาย จัดการเรียนการสอนตามแผน การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E) เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ เมื่อจัดการเรียนรู้ครบ ทั้ง 7 แผนแล้ว ทดสอบหลังเรียนและสอบถามความพึงพอใจต่อการจัด การเรียนรู้ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบที (ttest) แบบไม่อิสระต่อกัน (Dependent Paired samples t-test) และวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E) เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาค้นคว้าสรุปผลได้ดังนี้
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระทองคำวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 36 คน ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E) เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ มีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 23.68 คิดเป็นจำนวนร้อยละเท่ากับ 84.59 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนที่นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 20.67 คิดเป็นจำนวนร้อยละเท่ากับ 73.83 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระทองคำวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 36 คน ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E) เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระทองคำวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (7E) เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ ในระดับมาก