การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ 1) ผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการศึกษา จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาโรงเรียนประทาย และแนวทางการจัดการศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) การจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 ภาคเรียนที่ 1 ปีการ ศึกษา 2564 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชนิดตัวเลือก 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบค่าที (t-test Dependent)
สรุปผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
1.1 การวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย สภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนรู้ มุ่งผลลัพธ์ และส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ ทักษะการคิดและแก้ปัญหา ทักษะการใช้ชีวิตและการทำงาน มุ่งเน้นการปฏิบัติจริง มีเจตคติและแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยเตรียมพร้อมให้นักเรียนรู้จักคิด เรียนรู้ คิดเป็น ทำงาน แก้ปัญหา สื่อสาร ร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นักเรียนต้องเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ความคิด จนเกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสรุปองค์ความรู้และเกิดทักษะการคิด จนนำมาปฏิบัติได้ถูกต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตต่อไปได้
1.2 การวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี สาระสำคัญ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มุ่งส่งเสริมให้นักเรียน มีทักษะการคิด มีทักษะกระบวนการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อย่างหลากหลาย นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้ความคิด เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสรุปองค์ความรู้และมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณ จนนำมาปฏิบัติได้ถูกต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตต่อไปได้
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหา การจัดการเรียนรู้ยังมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนตามเนื้อหา เน้นความรู้ความจำ ขาดสื่อการเรียนรู้ที่ฝึกให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ขาดสื่อการเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วและเข้าใจได้ง่าย นักเรียนขาดการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ขาดความใฝ่เรียนใฝ่รู้ ขาดการใช้เหตุผลในการคิด คิดไม่เป็นระบบและไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ขาดทักษะการทำงานกระบวนการกลุ่ม การวิเคราะห์การสังเคราะห์ความรู้ จึงทำให้นักเรียนยังไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ ซึ่งสังเกตได้จากการประเมินผลการเรียนทั้งระหว่างจัดการเรียนรู้ และหลังการจัดการเรียนรู้เสร็จสิ้น
1.4 การวิเคราะห์สภาพความต้องการ ในการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้นักเรียนแสวงหาความรู้อย่างหลากหลาย มีความมุ่งนั่นในการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ฝึกกระบวนการคิด การไตร่ตรองอย่างรอบคอบ การแก้ปัญหาและทำงานอย่างมีระบบเป็นขั้นตอน มีทักษะการทำงานกระบวนการกลุ่ม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ ส่งผลให้ผู้เรียนได้มาพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นนักเรียนที่มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการเรียนระดับสูงและการดำรงชีวิตประจำวันต่อไป
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม
5) หลักการตอบสนอง 6) สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และ 7) เงื่อนไขในการนำไปใช้ โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ ขั้นที่ 2 ใฝ่สืบค้นแสวงหา ขั้นที่ 3 นำมาปฏิบัติกิจกรรม ขั้นที่ 4 จัดทำสรุปองค์ความรู้ และขั้นที่ 5 นำสู่การนำเสนอและประเมิน เมื่อนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.95/81.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
3.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61