ชื่อเรื่อง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านหนองไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑
ผู้วิจัย นภัสวรรณ คูหาทอง
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 2) แนวทางการพัฒนาในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 เป็นการประเมินโครงการแบบพรรณนา(Describe) โดยใช้แนวคิดของ โคเฮน (Cohen) และอัฟฮอฟ (Uphoff) และประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 10 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองไผ่ จำนวน 42 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน รวม 61 คน สำหรับเครื่องมือเป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ โดยแบบสอบถามแต่ละฉบับแบ่งออกเป็น 2 ตอน แบบสอบถามฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถาม จำนวน 32 ข้อ แบบสอบถามฉบับที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( μ )และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( σ ) โดยใช้ค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบ
ผลการวิจัย
1. การมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 โดยรวมค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง ( μ = 3.40 , σ = 0.53 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านที่ 2 ด้านการดำเนินงาน( μ = 4.07 , σ = 0.60 ) รองลงมาด้านที่ 1 ด้านการตัดสินใจ (μ = 3.73 , σ = 0.64 ) และต่ำสุดด้านที่ 3 ด้านรับผลประโยชน์ ( μ = 2.40 , σ = 0.38 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละด้าน พบว่า
1.1) ด้านการตัดสินใจ (Decision-Making)โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( μ = 3.73 , σ = 0.64 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 3 การมีส่วนร่วมวางแผนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( μ = 4.90 , σ = 0.30 ) รองลงมาข้อที่ 7 การมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ( μ = 3.92 , σ = 0.82 ) และต่ำสุดข้อที่ 10 การมีการวางแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล ( μ = 3.34 , σ = 0.91 )
1.2) ด้านการดำเนินงาน (Implementation) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( μ = 4.07 , σ = 0.60 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 1 การมีส่วนร่วมดำเนินงานด้านระดมทุนเพื่อการศึกษา ( μ = 4.23 , σ = 0.61) รองลงมาข้อที่ 6 การมีส่วนร่วมดำเนินการประชาสัมพันธ์การรับนักเรียน ( μ = 4.23 , σ = 0.71 ) และต่ำสุดข้อที่ 3 การมีส่วนร่วมให้คำแนะนำในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ( μ = 3.77 , σ = 0.73 )
1.3) ด้านการรับผลประโยชน์ (Benefits) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ น้อย ( μ = 2.40 , σ = 0.38 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 4 การเคยเข้าร่วมการประชุมกับโรงเรียน ( μ = 2.70 , σ = 0.55 ) รองลงมาข้อที่ 1 การเคยได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติจากโรงเรียน ( μ = 2.57 , σ = 0.76 ) และต่ำสุดข้อที่ 3 การเคยได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติจากโรงเรียน ( μ = 1.87 , σ = 0.38 )
1.4) ด้านการประเมินผล (Evaluation) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง ( μ = 3.42 , σ = 0.68 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 4 การมีส่วนร่วมติดตาม ตรวจสอบ สื่อ เทคโนโลยี รวมถึงอุปกรณ์การเรียนการสอนให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ( μ = 3.61 , σ = 0.86 ) รองลงมาข้อที่ 2 การมีส่วนร่วมติดตาม ตรวจสอบเงินรายได้ที่ได้รับจากการระดมทุนเพื่อการศึกษา ( μ = 3.44 , σ = 0.59 ) และต่ำสุดข้อที่ 3 การมีส่วนร่วมติดตาม ตรวจสอบการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ( μ =3.33 , σ = 0.74 )