การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปากช่อง ๒ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปากช่อง ๒ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปากช่อง ๒ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปากช่อง ๒ แหล่งข้อมูลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง แหล่งข้อมูลการสร้างและพัฒนารูปแบบประกอบด้วย ผลจากการจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนที่สำหรับทดลองใช้เพื่อสร้างและพัฒนาศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปากช่อง ๒ แหล่งข้อมูลการทดลองใช้และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปากช่อง ๒ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปากช่อง ๒ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (Dependent samples t-test ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบสังเคราะห์จากแนวคิดการออกแบบรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ADDIE Model ของเควิน ครูส ร่วมกับกรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และแนวคิดหลักการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคม ของวิก็อทสกี้ บรูเนอร์ รูปแบบการสอนชีววิทยาผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา กับ การจัดการเรียนรูของ สสวท. การส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อม ของ Benjamin Bloom
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปากช่อง ๒ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “PAC2S Model” ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 สาระหลัก องค์ประกอบที่ 5 ระบบสังคม องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุน และองค์ประกอบที่ 7 เงื่อนไขในการนำไปใช้ และขั้นตอนกระบวนการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ PAC2S Model มี 5 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Prepare to study : P) 2) ขั้นศึกษาและสำรวจ (Study and explore : S) 3) ขั้นความรู้สู่สร้างชิ้นงาน (Create a piece : C) 4) ขั้นสรุปและประเมินผล (Summary and Evaluation : S) และ 5) ขั้นตระหนัก เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ (Awareness, dissemination and transfer of knowledge : A)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปากช่อง ๒ พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 จิตสำนึกสิ่งแวดล้อมของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผ่านฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปากช่อง ๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด