ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
ผู้วิจัย นางสาวพิมพ์ญาดา นาชัยฤทธิ์
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครราชสีมา เขต 7 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านสะแกงาม จำนวน 8 คน 3) ครูพี่เลี้ยงที่ร่วมกำกับติดตามให้คำปรึกษาและนิเทศในการดำเนินงาน จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 50 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 พบว่า ครูผู้สอนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการจัดกิจกรรมแบบ Active Learning มีกิจกรรมการเรียนรู้ไม่หลากหลาย ไม่น่าสนใจ ขาดการใช้สื่อที่หลากหลาย และไม่มีการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 พบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเตรียมความพร้อม (Preparation) ประกอบด้วย การทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูและบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการให้ความรู้ความเข้าใจด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการ (2) การตั้งเป้าหมายร่วมกัน (Purpose) (3) การปฏิบัติการที่เป็นแบบอย่างได้โดยกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) (4) การส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Promotion) (5) การนิเทศติดตามแบบกัลยาณมิตร (Supervision) และ (6) การสรุปผลการดำเนินงานเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา (Summarize) ซึ่งผู้วิจัยเรียกชื่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ว่า 4P2S Model
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 4P2S Model เป็นดังนี้ 3.1 ผลการประเมินการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ในภาพรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด 3.2 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 หลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการอบรม 3.3 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ในภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก และ 3.4 ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 มีความสามารถอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 4P2S Model เป็นดังนี้ 4.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ในระดับมากที่สุด 4.2 ผู้ร่วมสนทนากลุ่ม ให้คำเสนอแนะว่า องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนบ้านสะแกงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 มีความเหมาะสม สอดคล้องและสามารถนำสู่การปฏิบัติได้ และ 4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อยู่ในระดับมากที่สุด