ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร
โรงเรียนราชวินิต มัธยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
กรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีงบประมาณ 2565
ชื่อผู้จัดทำผลงาน : นางสาวชนิดาภา กัญจนวัตตะ
ปีที่ดำเนินการ : 2565
บทคัดย่อ
การศึกษารายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร โรงเรียนราชวินิต มัธยม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีงบประมาณ 2565 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมินผลการดำเนินงานด้านบริบท ด้านปัจจัยพื้นฐาน ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ประกอบด้วย 1) ครู ได้แก่ ข้าราชการครูและครูอัตราจ้าง โรงเรียนราชวินิต มัธยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
จำนวน 108 คน 2) บุคลากร โรงเรียนราชวินิต มัธยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 16 คน
กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการเป็นรูปแบบการประเมิน CIPP Model ของ Daniel L. Stufflebeam ประกอบด้วย ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input Evaluation) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยพื้นฐาน และด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่น .902 ด้านผลผลิตของโครงการ
จำนวน 6 กิจกรรม มีค่าความเชื่อมั่น ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 วันสถาปนาโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .869 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดเลือกครูผู้ปฏิบัติงานดีเด่นเพื่อรับโล่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีค่าความเชื่อมั่น .853 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการ มีค่าความเชื่อมั่น .801 กิจกรรมที่ 4 ค่ายเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ปีการศึกษา 2565 มีค่าความเชื่อมั่น .905 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมส่งเสริมการมีและเลื่อนวิทยฐานะและการพัฒนาตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .834 และกิจกรรมที่ 6 กิจกรรมส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มบริหารและกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่น .824 และแบบประเมินพฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กรของครูและบุคลากรหลังดำเนินกิจกรรม มีค่าความเชื่อมั่น .840 แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและบุคลากร ที่มีค่าความเชื่อมั่น .835 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประเมินส่วนใหญ่เป็นครู (ร้อยละ 87.23) เพศหญิง (ร้อยละ 70.22) อายุ 30 -39 ปี (ร้อยละ 53.19) ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ปริญญาตรี (ร้อยละ 61.70) และมีระยะเวลาปฏิบัติงานที่โรงเรียนราชวินิต มัธยมสูงสุด คือ 1 5 ปี (ร้อยละ 39.36) รองลงมา คือ 6 10 ปี (ร้อยละ 31.92)
ซึ่งมีผลการประเมินโครงการฯ ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.03, S.D. = 0.71)
2. การประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.20, S.D. = 0.69)
3. การประเมินด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.17, S.D. = 0.74)
4. การประเมินด้านผลผลิต
4.1 การประเมินกิจกรรมโครงการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.25, S.D. = 0.72)
4.2 การประเมินพฤติกรรมของครูและบุคลากรหลังจากดำเนินกิจกรรมโครงการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมาก
(x̄ = 4.33, S.D. = 0.66)
4.3 การประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรที่มีต่อการจัดโครงการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมาก
(x̄ = 4.21, S.D. = 0.77)
คำสำคัญ: การประเมินโครงการ ความผูกพันต่อองค์กร